เสี่ยงติดโควิด : เมื่อวันอังคารที่ 22 ก.พ. เราคงได้เห็นข่าวว่า “สธ.ประกาศเตือนภัยใช้มาตรการเข้มควบคุมโควิดระดับ 4” รวมไปถึงยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งทะลุสูงถึงวันละสองหมื่นกว่า! ซึ่งเมื่อมีผู้ติดเชื้อมาก ความเสี่ยงที่เราจะติดเชื้อโควิดนั้นก็ดูมากตามไปด้วย
เพราะงั้นเรามาลองเช็กไปด้วยกันดีกว่าว่า ตัวเรานั้นมีความเสี่ยงที่จะติดโควิดขนาดไหน และถ้าเรามีความเสี่ยงติดโควิด-19 เราควรปฏิบัติตัวตามแนวทางอย่างไร เพื่อลดการแพร่กระจายโควิด และป้องกันไม่ให้คนในครอบครัวมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ รวมไปถึงถ้าเรามีอาการเข้าข่ายติดเชื้อนั้นยังสามารถตรวจฟรีได้รึเปล่า? ถ้าทุกคนพร้อมแล้วก็ไปดูพร้อมกันได้เลย!
การแบ่งระดับความเสี่ยงของผู้ติดเชื้อโควิด
ก่อนที่เราจะรู้ว่า “ตนเองมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด หรือไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อ”นั้น เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เราอยู่กลุ่มเสี่ยงประเภทไหน ซึ่งกรมควบคุมโรคนั้นแบ่งกลุ่มเสี่ยงออกเป็นทั้งหมด 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กลุ่มเสี่ยงสูง
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือ ผู้ที่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิดโดยตรง เช่น
– ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยเป็นระยะเวลานาน เช่น คุยใกล้ ๆ กัน โดยไม่ใส่แมส เกิน 5 นาที
– อยู่ร่วมกับผู้ป่วยบริเวณสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท ในระยะ 1 เมตร เกิน 15 นาที เช่น ทำงานห้องเดียวกัน, เรียนหนังสือด้วยกัน เป็นต้น
รวมไปถึงมีอาการที่เข้าข่ายโควิด ไม่ว่าจะเป็น มีไข้, ไอ หายใจหอบเหนื่อย บางทีอาจมีอาการไม่เจาะจง เช่น ท้องเสีย, ตาแดง, มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ฯลฯ
2. กลุ่มเสี่ยงต่ำ
กลุ่มเสี่ยงต่ำ คือ ผู้ที่ไปสัมผัส หรืออยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น เราไปพบเพื่อนที่เคยไปสัมผัสผู้ป่วยโควิดมา แล้วทำไมเราจัดอยู่ในกลุ่มนี้? เพราะ จริง ๆ แล้ว เรายังไม่รู้ว่า เพื่อนที่เคยไปสัมผัสผู้ป่วยโควิดมานั้น ติดเชื้อ (Positive) หรือไม่ติดเชื้อ (Negative) นั่นเอง
3. กลุ่มไม่มีความเสี่ยง
กลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง คือ กลุ่มที่ไปสัมผัสกับกลุ่มเสี่ยงต่ำ ทำให้กลุ่มนี้ไม่มีความเสี่ยง แต่เราก็ต้องสำรวจของตัวเองกันต่อไป
หลังจากที่เราสามารถประเมินว่า ตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโควิดประเภทไหนได้บ้างแล้ว เราก็ต้องรู้แนวทางปฏิบัติถ้าตัวเองมีความเสี่ยงติดโควิด-19 เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเอง สังคม และบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดเรา ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
แนวทางปฏิบัติถ้ารู้ว่าตัวเอง เสี่ยงติดโควิด-19
ถึงแม้เราจะรู้วิธีความเสี่ยงว่า เราเป็นกลุ่มเสี่ยงติดโควิดกลุ่มไหน แต่สิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเราไม่แน่ใจว่าตนเองติดเชื้อโควิดมั้ย เราก็ควรตรวจดูก่อน โดยการ “ตรวจ ATK (Antigen Test Kit) ด้วยตนเอง หรือตรวจที่หน่วยงานบริการ” ก่อน เพื่อเป็นการสกรีนเบื้องต้นว่า เราติดเชื้อหรือไม่ติด โดยเราขอแบ่งแนวทางปฏิบัติของผู้ที่เสี่ยงติดโควิด ตามหลักของกระทรวงสาธารณสุข ได้ดังนี้
1. ผู้ที่ตรวจแล้วพบว่า ติดเชื้อ หรือ ผลเป็นบวก (Positive)
ถ้าเราตรวจแล้วพบว่า ตัวเราติดเชื้อ ก็อย่าพึ่งตกใจไป! ตั้งสติแล้วกันก่อน จากนั้นโทรหาสายด่วน สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) 1330 หรือแอดไลน์ @nhso เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประเมินอาการ ซึ่งผู้ป่วยโควิดแต่ละคนนั้น จะมีความรุนแรงของอาการป่วยโควิดแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งลักษณะการดูแลรักษาตามอาการป่วยโควิดได้ดังนี้
– กลุ่มที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยสีเขียว) : Home Isolation / Community Isolation
การกักตัวอยู่บ้าน หรือการกักตัวอาศัยอยู่โรงแรม (Hospitel) สำหรับกรณีที่พื้นที่บ้านของผู้ป่วยไม่เหมาะสมสำหรับการทำ Home Isolation พูดแบบนี้หลายคนก็อาจจะกังวลว่า รักษาไกลมือหมอแล้วถ้าเกิดอาการรุนแรง หรือกรณีฉุกเฉินจะทำอย่างไรล่ะ? ไม่ต้องห่วงไป! เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเราอยู่ไม่ห่าง รวมถึงมีบุคลากรทางการแพทย์ดูแลเราอย่างใกล้ชิด และติดตามอาการเราผ่านออนไลน์อยู่ตลอดเลยล่ะ ซึ่งถ้าใครอาการไม่ดีขึ้น และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น คุณหมอไข้ที่เป็นคนดูแลพิจารณาว่าจะวางแผนการรักษาอย่างไร หรือต้องย้ายตัวเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลรึเปล่านั่นเอง
– กลุ่มที่มีอาการ หรือปัจจัยเสี่ยง : โรงพยาบาล กลุ่มคนติดโควิดแล้วต้องรักษาที่โรงพยาบาลนั้น มักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว 8 ชนิด และผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเข้าข่ายกับอาการของผู้ติดโควิด โดยแบ่งเกณฑ์การส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แบ่งได้ดังนี้
– มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชม.
– ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94%
– มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง,โรคหัวใจ (เส้นเลือดตีบตัน หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ), เบาหวาน, โรคไตเรื้อรัง, โรคปอดอักเสบ หรือหอบหืด, โรคตับ (ตับแข็ง หรือตับอักเสบเรื้อรัง), โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคอ้วน
– กรณีผู้ใหญ่ หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง/นาที
– กรณีเด็ก หายใจลำบาก มีอาการซึม ทานอาหารหรือนมได้น้อย
ผู้ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลนั้น รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการเริ่มรุนแรง อย่างผู้ป่วยสีเหลือง หรือผู้ป่วยสีแดงที่มีอาการรุนแรง (อ้างอิงจาก กระทรวงสาธารณสุข) ถ้าใครอยากรู้ อาการผู้ป่วยว่ารุนแรงระดับไหนคือสีอะไร หรือ อยากลองประเมินอาการ ก็สามารถเข้าไปอ่านบทความต่อได้ที่ Home-isolation ควรทำอย่างไรเมื่อต้องแยกกักตัวอยู่ที่บ้าน
2. ผู้ที่ตรวจแล้วพบว่า ไม่พบเชื้อ หรือ ผลเป็นลบ (Negative)
ถึงแม้เราจะตรวจแล้วได้ผลเป็นลบ แต่! ก็อย่าพึ่งนิ่งนอนใจไป เพราะว่าการตรวจ ATK นั้นเป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น ผลที่ได้อาจ Error จากความเป็นจริงได้ อีกทั้งเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่กลายพันธุ์นั้นไม่สามารถตรวจพบได้ด้วย ATK บางชนิดอีกด้วย ถ้าใครอยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจแบบ ATK ก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่.. มัดรวมวิธีตรวจโควิดแบบไหนแม่นยำที่สุด
เมื่อเราตรวจเบื้องต้นแบบ ATK แล้วนั้น เราจะต้องติดตามอาการของตนเองอย่างใกล้ชิดร่วมด้วย ว่ามีอาการอะไรที่ดูคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโควิดรึเปล่า? ซึ่งถ้าใครมีประวัติเสี่ยงไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้เสี่ยงสูง หรือผู้เสี่ยงต่ำก็ต้องกักตัวเอง 14 วัน พร้อมประพฤติตนเองตามมาตรการ D-M-H-T-T-A พร้อมตรวจ ATK ทุก ๆ 3 วัน ส่วนคนที่ไม่มีประวัติเสี่ยงนั้น ไม่ต้องกักตัวแต่ให้ติดตามอาการของตัวเองนั่นเอง
ถ้าเรา เสี่ยงติดโควิด ตรวจ RT-PCR ที่ไหนฟรี ?
หลังจากที่เราได้ตรวจ ATK แล้วแต่เราก็ยังไม่มั่นใจ 100% ว่าตนเองติดโควิดหรือไม่ เราก็อยากลองตรวจ RT-PCR แต่ราคาก็แสนแพงจะตรวจทีก็คิดหนัก ซึ่งจริง ๆ แล้วการตรวจ RT-PCR นั้นมีแบบตรวจฟรีด้วยนะ แต่เราต้องเข้าเกณฑ์การตรวจดังนี้
– ผู้ที่มีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ และมีอาการที่เข้าข่ายโควิดร่วมด้วย เช่น ใกล้ชิดผู้ป่วย หรืออยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงสูง
– ผู้ที่ตรวจ ATK แล้วพบว่า ติดเชื้อ (Positive)
– ผู้ที่มีสิทธิ์ประกันสังคม
ฯลฯ
ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลนั้นก็จะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป โดยปัจจุบันมีจุดตรวจ RT-PCR ฟรีทั้งหมด 28 แห่ง ใครที่อยากรู้ว่ามีที่ไหนบ้างก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ เปิดจุดตรวจ “RT-PCR” ฟรี 28 แห่ง มีที่ไหนบ้าง เงื่อนไขเป็นอย่างไร?
ถึงแม้ตอนนี้เชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ นั้นจะมีอาการรุนแรงน้อยลงเมื่อเทียบกับเก่าสายพันธุ์ก่อน ๆ แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่กลับมาพุ่งสูงอีกครั้งก็คงทำให้เราต้องคอยใช้ชีวิตระมัดระวังตลอดเวลา ซึ่งถ้าใครอยากเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัยกับตัวเองก็สามารถใช้บริการพ่นฆ่าเชื้อของ We Clean VR ที่ฆ่าเชื้อ และ ทำความสะอาดได้ทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทั้งคอนโด บ้าน และสถานที่ทำงาน ฯลฯ ด้วยน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ SteriPlant ที่เป็นนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ มีคุณภาพ และความปลอดภัยระดับ Food Grade รวมถึงปลอดภัยต่อร่างกาย และสิ่งแวดล้อมด้วย
หากอยากอ่านบทความดี ๆ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดแบบนี้อีก ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link
ติดต่อสอบถาม
: 099 165 4462
Line@ : @wecleanvr (มี @ข้างหน้าด้วย)
Source: Hdmall. Workpointtoday. Bangkokbiznews