บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

Home Isolation : ควรทำอย่างไร เมื่อต้องแยกกักตัวที่บ้าน

เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid – 19 ระลอกล่าสุด ที่ทำเอายอดผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศทะลุล้าน และผู้ติดเชื้อรายวันก็อยู่ที่หลักหมื่นมานานหลายเดือน จนทำให้เตียงของโรงพยาบาลต่าง ๆ รวมถึงโรงพยาบาลสนาม ไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วย จึงเกิดแนวคิดการเรื่องการรักษาตัวเองที่บ้าน หรือ Home Isolation เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในระดับสีเขียว

Home Isolation คืออะไร

เป็นกระบวนการรักษากรณีที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจว่าพบเชื้อฯ และแพทย์ได้พิจารณาให้ผู้ป่วยสามารถแยกกักตัวที่พักได้ โดยจะได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยและเจ้าของสถานที่ รวมถึงกรณีผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล และกลับมาแยกกักตัวในที่พักต่อจนครบกำหนด ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ฉันเป็นผู้ป่วยโควิด – 19 ระดับไหน ?

ก่อนอื่นเลยคุณก็ต้องเช็คก่อนว่า อาการป่วยของคุณตอนนี้อยู่ที่ระดับไหน เพื่อที่จะได้รับการดูแลและเข้าการรักษาที่เหมาะสม โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งระดับอาการของผู้ป่วยโควิดเป็น 3 ระดับสี ดังนี้

  1. “ผู้ป่วยสีเขียว” กลุ่มนี้สามารถใช้วิธีแยกกักตัวที่บ้าน ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของแพทย์ด้วย ผู้ป่วยสีเขียวจะมีอาการ ดังนี้

✔️ไม่มีอาการ

✔️ไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป

✔️ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ

✔️ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่น

✔️ถ่ายเหลว

✔️ไม่มีอาการหายใจเร็ว , เหนื่อย , ลำบาก

✔️ไม่มีปอดอักเสบ

✔️ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคร่วมสำคัญ

  1. “ผู้ป่วยสีเหลือง” กลุ่มนี้ต้องรีบประสานหาเตียง ซึ่งตามระบบแล้ว ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการสีเหลือง จะได้รับคิวต่อจากระดับสีแดง ผู้ป่วยสีเหลืองจะมีอาการ ดังนี้

✔️ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคร่วมสำคัญ ข้อใดข้อหนึ่ง

✔️ แน่นหน้าอก

✔️ หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม

✔️ หายใจเร็ว , เหนื่อย , ลำบาก

✔️ เวลาไอแล้วเหนื่อย

✔️ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ

✔️ ปอดอักเสบ

✔️ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน

3. “ผู้ป่วยสีแดง” กลุ่มนี้ต้องได้เข้ารักษาในระบบทันที โทร. 1668, 1330 สายด่วนโควิด-19 เฉพาะกิจ หรือ โทร. 1669 (ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) เพื่อประสานงานต่อไป ผู้ป่วยสีแดงจะมีอาการ ดังนี้

✔️ หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา

✔️ แน่นหน้าอกตลอดเวลา หรือหายใจแล้วเจ็บหน้าอก

✔️ ซึม เรียกไม่รู้สึกตัวหรือตอบสนองช้า

✔️ มีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 96% หรือ มีภาวะลดของออกซิเจน SpO2 >= 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง

✔️ ภาพเอ็กซ์เรย์ทรวงอกมีผ้า แสดงอาการเชื้อลงปอด

ฉันเข้าเกณฑ์ที่สามารถแยกกักตัวที่บ้าน ได้ไหมนะ ?

ถึงแม้ว่าคุณจะได้รับการตรวจว่าพบเชื้อฯ แล้ว ก็ใช่ว่าคุณจะสามารถแยกกักตัวที่บ้านได้นะ สำหรับผู้ป่วยที่สามารถเข้ากระบวนการรักษา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. ผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อ และแพทย์พิจารณาแล้วว่าเป็น “ผู้ป่วยสีเขียว” ที่สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ หรือกำลังรอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
  2. ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันแล้ว และแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถทำ Home Isolation ต่อได้

ทั้งนี้ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มที่กล่าวไปข้างต้น จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

✔️ อายุไม่เกิน 70 ปี

✔️ พักอาศัยอยู่คนเดียว หรือร่วมกับผู้อื่นไม่เกิน 1 คน หรือมีห้องส่วนตัวเป็นสัดส่วน และไม่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ

✔️ ไม่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง , โรคไตเรื้อรัง , โรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคหลอดเลือดสมอง , โรคอ้วน , โรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆตามความเห็นของแพทย์

*ที่มา : กองสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2564

ฉันต้องเตรียมอะไรบ้าง ก่อน Home Isolation ?

  1. ของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย เช่น จานชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ เสื้อผ้า ชุดเครื่องนอน เป็นต้น
  2. หน้ากากอนามัย ควรสวมตลอดเวลาเมื่อไม่ได้อยู่คนเดียว
  3. ยาสามัญประจำบ้าน และยารักษาโรคที่กินประจำ เช่น ยาลดไข้ ฟ้าทะลายโจร สมุนไพร เป็นต้น
  4. อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ทิชชูแห้ง/เปียก สบู่ แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น
  5. อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจน เป็นต้น
  6. ถุงขยะแยกสี เพื่อแยกขยะติดเชื้อ

ฉันต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ขณะ Home Isolation ?

  1. ห้ามออกจากบ้าน หรือห้องส่วนตัว และห้ามบุคคลอื่นเข้าเยี่ยม
  2. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องออกจากห้อง หรือตลอดเวลาที่ไม่ได้อยู่คนเดียว
  3. เว้นระยะห่างกับคนในบ้าน และงดเข้าใกล้หรือสัมผัสเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเด็ดขาด
  4. ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นอย่างเด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ
  5. แยกของใช้ส่วนตัว และห้องพัก ถ้าไม่สามารถแยกได้ ให้กั้นเป็นสัดส่วน หรือเว้นระยะห่างให้มากที่สุด
  6. แยกขยะ เนื่องจากขยะของผู้ป่วยถือว่าเป็นขยะติดเชื้อ 
  7. แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอน
  8. แยกใช้ห้องน้ำ ถ้าไม่สามารถแยกได้ ผู้ป่วยควรใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้เสร็จ
  9. เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทตลอดเวลา และไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ
  10. ล้างมือ หรือฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งก่อน – หลังหยิบจับของร่วมกับผู้อื่น และควรล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ

หากิจกรรมผ่อนคลายทำขณะ Home Isolation

นอกจากความน่ากลัวของโรคระบาด Covid-19 แล้ว สิ่งที่น่ากลัวไม่แพ้กันก็คือ ความวิตกกังวล และความเครียด ยิ่งต้องใช้เวลาหลายวัน มีความเหงามาเป็นเพื่อนเพิ่มอีกแน่นอน ฉะนั้นอย่าลืมลิสต์กิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายขณะไว้ด้วยนะ

✔️ ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว ผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ หรือ Social Media อย่างสม่ำเสมอ 

✔️ ออกกำลังกายง่าย ๆ ภายในบริเวณบ้าน เช่น เต้น โยคะ คาร์ดิโอ เป็นต้น

✔️ ทำกิจกรรมที่สามารถทำคนเดียวได้ เช่น ดูภาพยนตร์ ซีรีส์ เล่นเกมส์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น

✔️ เตรียมอาหารที่มีประโยชน์ และน้ำดื่มให้เพียงพอ

✔️ วางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ให้ครอบคลุมระยะเวลา 10 – 14 วัน

✔️ วางแผนและเตรียมพร้อม กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

หากสนใจเรื่องการดูแลทำความสะอาดสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link

📱FB : https://www.facebook.com/wecleanvr

📟 Line@ : @wecleanvr (มี @ข้างหน้าด้วย)

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ