“ถ้าเราติดโควิด ทำอย่างไรถึงจะได้รักษาฟรี?” คงเป็นอีกหนึ่งคำถามของใครหลายคนที่กำลังหาเตียงสำหรับโควิดให้ตัวเอง หรือให้คนรอบตัวอยู่ อีกทั้งเราอาจได้เห็นข่าวเกณฑ์การรักษาโควิด-19 ของสำนักงานหลักประกันสังคม (สปสช.) มีการปรับเปลี่ยนสิทธิ์การรักษา จากเกณฑ์การรักษาแบบเดิมคือ ‘UCEP’ เปลี่ยนเป็น “UCEP Plus”
ซึ่งหลายคนคงตั้งคำถามว่า หลักเกณฑ์ใหม่นี้ จะได้รับผลกระทบในการรักษาโควิดฟรีรึเปล่า แล้วเราต้องจ่ายค่ารักษาเองใช่มั้ย? ถ้าอยากรู้ว่า เกณฑ์ยูเซปพลัสมีข้อกำหนดแบบไหน และขั้นตอนการใช้สิทธิของยูเซปพลัสต้องทำอย่างไร ก็สามารถไปศึกษาพร้อมกันได้เลย
ทำความเข้าใจ UCEP Plus หลักเกณฑ์การรักษาโควิดใหม่
UCEP Plus หรือ ‘ยูเซปพลัส’ ย่อมาจากคำว่า Universal Coverage for Emergency Patients Plus เป็นเกณฑ์กำหนดขอบเขตการรักษาอาการของผู้ป่วยโควิดที่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยโควิดฉุกเฉิน คือผู้ป่วยสีเหลือง และผู้ป่วยสีแดง โดยผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การรักษายูเซปพลัสนั้น สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ แบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งเกณฑ์การจำแนกอาการของผู้ป่วยโควิดวิกฤต แบ่งได้ดังนี้
อาการของผู้ป่วยโควิดที่อยู่ในเกณฑ์ UCEP Plus
ผู้ป่วยโควิดนั้นจะต้องมีผลตรวจของ Antigen Test Kit; ATK หรือ RT-PCR เป็นผลบวก หรือติดเชื้อ และมีอาการร่วมด้วยอย่างน้อยหนึ่งอาการที่ระบุตามหลักเกณฑ์ ได้แก่
1. มีอาการไข้ขึ้นสูงถึง 39 องศาเซลเซียส มานานกว่า 24 ชั่วโมง หรือ หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ หรือมีระดับของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) แรกรับน้อยกว่า 94% หรือมีระดับออกซิเจนลดต่ำลงกว่าภาวะปกติ 3% หรือมีอาการ หรือโรคประจำตัวเปลี่ยนแปลงรุนแรงให้แพทย์ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ ส่วนในเด็ก ถ้ามีอาการหายใจลำบาก ซึม รับประทานอาหารหรือดื่มนมน้อยลง
2. มีภาวะหัวใจหยุดเต้น หายใจลำบากเฉียบพลัน มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ มีภาวะช็อก ภาวะโคม่า และมีอาการซึมลง (เมื่อเทียบกับระดับความรู้สึกเดิม) หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก
3. มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรง หรือโรคร่วม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มคน 608 คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป, ผู้มีโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจ และหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน (น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม), โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน รวมถึงกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์, ผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง, โรคภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดขาวเลือดขาวน้อยกว่า 1,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร ฯลฯ
ซึ่งผู้ป่วยโควิด ที่มีอาการเข้าตามหลักเกณฑ์ยูเซปพลัส นั้นสามารถเข้ารับการรักษาฟรี ทุกโรงพยาบาลใกล้เคียง ทั้งภาครัฐ และเอกชน ยังรวมถึงผู้ป่วยติดโควิดสีเหลือง และสีแดง ที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ปอดอักเสบ มีอาการไข้สูงติดต่อกันนานกว่า 24 ชั่วโมง มีภาวะช็อก และโคม่า ระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 94% เป็นต้น ที่สามารถเข้ารับการรักษาตามเกณฑ์ยูเซปพลัสเช่นกัน ซึ่งป่วยที่เข้าตามหลักเกณฑ์ของยูเซปพลัส จะถือว่าเป็นผู้ป่วยใน (ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภายในโรงพยาบาล) เพราะงั้นใครที่อยากลองประเมินอาการว่าเราเป็นผู้ป่วยสีอะไรก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ ปฏิบัติตัวอย่างไรขณะ Home Isolation
ขั้นตอนการใช้สิทธิ์ UCEP Plus
– ส่งตัวผู้ป่วยวิกฤตเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
– โรงพยาบาลทำการประเมินอาการ และคัดแยกระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วย
– ตรวจสอบรายละเอียด และความถูกต้องของข้อมูลผู้ป่วยวิกฤตโดยศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ์
– ผู้ป่วยได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ์ยูเซปพลัสทันที
*หมายเหตุ: กรณีผู้ป่วยอาการไม่เข้าข่ายสิทธิ์ของยูเซปพลัส ผู้ป่วยต้องย้ายโรงพยาบาลตามสิทธิ์การรักษาที่ตนเองมี หรือถ้าต้องการรักษากับโรงพยาบาลต่อ จะต้องจ่ายค่ารักษาด้วยตนเองนั่นเอง
ส่วนใครที่เป็นผู้ติดโควิดมีอาการไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการ (ผู้ป่วยสีเขียว) นั้นจะไม่ได้เข้าเกณฑ์การรักษาแบบยูเซปพลัส เนื่องจากไม่ถือว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน จะถือเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถได้รับการรักษา 3 วิธีการ คือ รักษาด้วยฟ้าทลายโจร, ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้, แก้ไอ น้ำมูก และยาที่รักษาโควิดโดยตรง อย่างยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นต้น ซึ่งแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
โดยแนวทางการรักษาแบบผู้ป่วยสีเขียวมีหลากหลายวิธี ได้แก่
– รักษาโควิด แบบกักตัวอยู่ที่บ้าน (Home Isolation; HI)
– รักษาโควิด แบบกักตัวอยู่ที่ชุมชน (Community Isolation; CI หรือ Hospitel)
– เข้าร่วมโครงการ ‘เจอ จ่าย จบ’ ที่เป็นโครงการของกระทรวงสาธารณสุขให้ลงทะเบียนเข้ารับการรักษา คล้ายคลึงกับการรักษาแบบ Home Isoltation แต่ไม่ได้รับอุปกรณ์ตรวจเพื่อติดตามอาการของตนเอง เช่น อุปกรณ์วัดออกซิเจนของเลือด และไม่รองรับสวัสดิการมื้ออาหาร
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการเจอ จ่าย จบ : เดินทาง Walk In เข้าคลินิก ARI Clinic (คลินิกคัดกรองโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ) หรือคลินิกสงสัยผู้ติดเชื้อ (PUI) ที่มีในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อเข้ารับบริการผู้ป่วยโควิดแบบผู้ป่วยนอก โดยจะมีการประเมินอาการ และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโควิดจากแพทย์ พร้อมให้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ จากนั้นเราต้องแยกกักตัวอยู่ที่บ้าน หลังจากนั้นหน่วยงานจะโทรติดตามอาการครั้งแรกภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงหลังลงทะเบียน และมีแพทย์คอยติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
– เข้ารับการรักษาฟรี ตามสิทธิ์ของแต่ละคน เช่น สิทธิ์รักษาพยาบาลของข้าราชการ, สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า, สิทธิ์ประกันสังคม, บัตรทอง เป็นต้น
เล่ามาขนาดนี้ บางคนคงเริ่มสงสัยว่า แล้วการเปลี่ยน UCEP เป็น UCEP Plus สำหรับการรักษาโควิดนั้นมันมีผลดี หรือผลเสียต่อตัวเรากันแน่? แล้วยูเซปแบบเดิมโดนยกเลิกแล้วรึเปล่า ถ้าอยากรู้ว่าเป็นไงบ้างก็ไปดูพร้อมกันเลย!
สิทธิการรักษาแบบ UCEP กับ UCEP Plus ต่างกันอย่างไร?
เราคงต้องเกริ่นการรักษาแบบเดิม ที่แต่ก่อนรัฐเคยใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด คือ ‘UCEP’ ซึ่งเป็นสิทธิการรักษาฟรีของผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่มีนโยบายรักษา ‘ผู้เจ็บป่วยวิกฤต (ผู้ป่วยสีแดง) มีสิทธิทุกที่ รักษาทุกคนไม่ว่าจะที่ไหน’ หรือ Universal Coverage for Emergency Patients
โดยสปสช.แบ่งอาการที่เข้าข่ายหลักเกณฑ์เป็น 6 อาการ ดังนี้
– ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หมดสติ
– หายใจเร็ว หายใจติดขัดและมีเสียงดัง มีอาการหอบเหนื่อยรุนแรง
– ซึมลง ตัวเย็น เหงื่อแตก
– เจ็บหน้าอกรุนแรง เฉียบพลัน
– แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก มีอาการชักต่อเนื่อง หรือพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน
– มีอาการอื่น ๆ ที่อันตรายต่อชีวิต เช่น อาการที่มีผลต่อระบบการไหลเวียนโลหิต, ระบบทางเดินหายใจ และระบบประสาท และสมอง
ส่วนสิทธิ UCEP Plus นั้นจะครอบคลุมการรักษาเฉพาะผู้ติดเชื้อโควิด กลุ่มสีเหลือง และสีแดงให้สามารถเข้ารับการรักษาฟรีจนหายจากการป่วย โดยโรงพยาบาลจะเรียกค่าใช้จ่ายการรักษาจากสปสช. ต่างจากสิทธิยูเซปแบบเดิมที่ครอบคลุมการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทุกโรคที่มีอาการเข้าเกณฑ์ แต่จะรักษาเพียง 72 ชั่วโมงแรกให้พ้นวิกฤต ก่อนส่งตัวไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์เดิมของตนเอง
นับวันยอดผู้ติดเชื้อโควิดสะสมเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้เราต้องคอยไปไหนมาไหนต้องระวังตัวตลอดเวลา แต่เราก็ไม่รู้ว่าวันไหนเราจะมีเชื้อโควิดกลับมาบ้าน หรือจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อตอนไหน ดังนั้นเราจึงควรเสริมสร้างความมั่นใจ ความสะอาด และความปลอดภัยด้วยบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อของ We Clean VR ที่ทำความสะอาดได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด และอาคารสำนักงาน ฯลฯ ด้วยน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ SteriPlant น้ำยาฆ่าเชื้อคุณภาพสูง และมีความปลอดภัยระดับ Food Grade เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย และสิ่งแวดล้อม
หากอยากอ่านบทความดี ๆ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดแบบนี้อีก ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link
ติดต่อสอบถาม
Line@ : @wecleanvr (มี @ข้างหน้าด้วย)
Source: Bangkokbiznews. Prachachat. Thestandard. tnnthailand