บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

MIS-C น่ากลัวกว่าที่คิด! ภาวะเสี่ยงหลัง ‘เด็ก’ ติดเชื้อ Covid-19

อย่างที่ทุกคนรู้กันว่า คนที่ติดเชื้อโควิดบางคนนั้นมีอาการผิดปกติต่อเนื่อง อย่างการเป็น “Long covid” หรือการมีอาการข้างเคียงจากการติดเชื้อที่ทำให้ร่างกายนั้นแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งในเด็กนั้นก็มีภาวะเสี่ยงหลังติดเชื้อโควิดที่คล้าย ๆ กับ การเป็น Long covid ที่เรียกว่า “MIS-C” หรือภาวะแทรกซ้อนหลังติดเชื้อโควิดของเด็ก ภาวะนี้จะเป็นอย่างไร อาการแบบไหน ต่างจากลองโควิดอย่างไร ก็ไปศึกษาพร้อมกันกับเราได้เลย!

ภาวะ MIS-C คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร?

ภาวะมิสซี (MIS-C) หรือย่อมาจาก Multisystem Inflammatory Syndrome in Children หรือภาวะอาการอักเสบหลายระบบในร่างกายพร้อม ๆ กันในเด็ก เนื่องจากการภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโควิดผิดปกติ ทำให้มีอาการอักเสบในระบบต่าง ๆ เช่น ปอด ตับ ไต ผิวหนัง สมอง ตา ระบบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอาการในระบบหัวใจ ซึ่งกลุ่มอาการส่วนใหญ่นั้นคล้ายกับโรคคาวาซากิ แต่มีความรุนแรงมากกว่า เนื่องจากภาวะนี้สามารถทำให้เกิดอาการรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ แต่การเกิดภาวะมิลซี นั้นยังไม่สามารถหาสาเหตุได้อย่างแน่ชัด โดยกลุ่มอาการของภาวะนี้สามารถ แบ่งได้ดังนี้

อาการของภาวะมิลซี

ภาวะแทรกซ้อนหลังติดเชื้อไวรัสนั้นมักมีอาการหายจากการติดเชื้อ จนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดในเด็กที่อายุ 6 – 10 ปีขึ้นไป มักพบได้ทั้งในเด็กผู้ชาย มากกว่าเด็กผู้หญิง ในเด็กทุกกลุ่มอายุ โดยเฉลี่ย 8-10 ปี โดยกลุ่มอาการของภาวะมิลซี มีดังนี้

– มีไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องนานเกิน 1 วัน

– มีอาการคล้าย ๆ โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) เช่น ผื่นขึ้น ตาแดง มือเท้าบวม ปากแดงแห้งแตก ต่อมน้ำเหลืองโต

– อาการบริเวณระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ

– อาการบริเวณระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ลำไส้ หรือตับอักเสบ และอาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ

– อาการระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

– อาการระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดอุดตัน และหายใจเหนื่อย หอบ ซึ่งอาการที่ระบบหัวใจถ้ารุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้

ซึ่งถ้าเราอยากสังเกตอาการว่า เด็กเป็นภาวะ MIS-C ก็สามารถสังเกตอาการเบื้องต้น ได้แก่ มีไข้สูง ผื่นตาแดง ปากหรือลิ้นแดง มือเท้าแดง อาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดท้อง ถ่ายเหลว อาเจียน มีอาการซึม รู้สึกตัวน้อย หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันต่ำ หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้มีภาวะช็อก และเสียชีวิตได้ เพราะงั้นถ้ามีอาการมากกว่า 2 อาการขึ้นไปควรรีบขอคำปรึกษาแพทย์ให้ทันท่วงที พร้อมทั้งติดตามอาการ และเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด เมื่อเด็ก ๆ หายจากการติดเชื้อโควิดนั่นเอง

ความเหมือน และแตกต่างระหว่าง ภาวะ MIS-C, โรคคาวาซากิ กับ Long Covid ในเด็ก

ภาวะมิลซี และการเกิดลองโควิดนั้นล้วนเกิดในช่วงหลังจากหายโควิด หรือผู้ที่เป็นนั้นหายจากการติดโควิดแล้ว ส่วนความแตกต่างระหว่าง ภาวะมิลซี และ Long Covid นั้นคือระยะการเกิดอาการ และกลุ่มอาการ นั่นคือ ภาวะมิลซี นั้นจะสามารถเกิดอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรค จนถึงหลังติดเชื้อโควิด 2-6 สัปดาห์ และมีอาการไข้สูง, ริมฝีปากแดง ผื่นขึ้นตามตัว มีอาการช็อก ความดันต่ำ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจหอบ ปวดศีรษะ และมีอาการซึม ส่วนการเกิด Long Covid นั้นจะเกิดหลังติดเชื้อประมาณ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งมีกลุ่มอาการคล้ายกันกับภาวะมิลซีบางกลุ่ม คือกลุ่มอาการที่ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และระบบหัวใจหลอดเลือด ส่วนอาการที่มีเพิ่มเติม คือ มีความผิดปกติที่พบในการตรวจเลือด เช่น ค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ, ค่าการทำงานและการกรองของไตลดลง, ความสามารถในการควบคุมน้ำตาลลดลง, การทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ฯลฯ

ส่วนอีกโรคที่มักเกิดในเด็ก และมีอาการคล้ายกับการเกิดภาวะมิลซี ที่คนมักสับสนกัน คือ “โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease)” แต่การเกิดภาวะมิลซีมักเกิดในผู้ป่วยเด็กโต และมีอาการรุนแรงมากกว่าจนสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการช็อก และมีภาวะการอักเสบแทรกซ้อนรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ส่วนโรคคาวาซากินั้นมักพบในผู้ป่วยเด็กเล็ก 

แนวทางวิธีป้องกันไม่ให้เสี่ยงเป็นภาวะ MIS-C ในเด็ก

ถึงแม้ภาวะการเกิดภาวะมิลซีนั้น จะยังไม่สามารถหาสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่เราก็สามารถหาแนวทางการป้องกันภาวะมิลซีที่เกิดในเด็ก แบ่งได้ดังนี้

– ล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ 

“มือ” นั้นถือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี เพราะเรานั้นต้องคอยไปหยิบจับสิ่งของหลาย ๆ อย่างรอบตัว ทั้งของส่วนตัว และของสาธารณะ ทำให้เราต้องคอยหมั่นล้างมือ เพื่อให้มือสะอาดและปลอดภัยจากโควิด

– เลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า

อย่างที่เราบอกไปว่า มือ นั้นถือเป็นที่รวมเชื้อโรคชั้นดี ซึ่งการที่ใช้มือไปสัมผัสใบหน้าจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทั้งจากการล้วง แคะ แกะ เกาที่อาจเกิดจากความเคยชิน ยิ่งเป็นเด็กเล็กแล้วยิ่งแล้วใหญ่ เพราะกิจกรรมในแต่ละวันล้วนไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน ทั้งการวิ่งเล่น, เล่นเกมอยู่บ้าน การพบปะเพื่อน ทำให้เราควรปลูกฝัง และแนะนำให้เด็กไม่ควรสัมผัสใบหน้า รวมถึงตัวเราเอง

– เลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย

การที่เราใกล้ชิดผู้ป่วยนั้นจะทำให้เราเสี่ยงที่จะติดโควิด โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้ำมูกไหล ไอและจามนั่นเอง

– ปิดจมูก และปาก เมื่อจามหรือไอ เว้นระยะห่างทางสังคม และสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน

รู้รึเปล่า? ว่าการไอ หรือจามนั้น ทำให้เชื้อแพร่กระจายไปโดยรอบได้ และผู้ที่อยู่รอบ ๆ ได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดได้ ดังนั้นการเว้นระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัย ช่วยป้องกัน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดได้

– ดูแลความสะอาดของบ้าน

ความสะอาด ถือเป็นหนึ่งในเคล็ดลับในการลดการติดเชื้อโควิด เนื่องจากเมื่อเราอยู่ที่บ้านสะอาด ที่มีการทำความสะอาดบ่อย ๆ นั้น ย่อมไม่เกิดหมักหมมของเชื้อโรคอยู่แล้ว ซึ่งการทำความสะอาดนั้น แบ่งวิธีการทำความสะอาดได้หลากหลายวิธี ซึ่งการเลือกบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อก็เป็นอีกช้อยที่ช่วยให้เราเสริมความมั่นใจ สะอาดและบ้านปลอดจากเชื้อโควิดนั่นเอง

– รับประทานอาหารให้มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีโภชนาการที่เพียงพอต่อร่างกาย สามารถช่วยเสริมภูมิร่างกายของเราได้ เช่น วิตามินซี จากผักผลไม้ เกลือแร่ และธาตุอาหารที่ช่วยเสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

สรุปแล้ว ภาวะ MIS-C ในเด็ก เราต้องระวัง และน่ากลัวขนาดไหน?

ภาวะ MIS-C นั้นเป็นภาวะที่เกิดหลังจากเด็กหายจากโควิด มักเกิดในเด็กโต โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย โดยภาวะมิลซีนนั้น มีกลุ่มอาการคล้ายกับโรคคาวาซากิ แต่จะมีอาการรุนแรงมากกว่า ซึ่งภาวะมิลซีนั้น ถ้ามีอาการอักเสบแบบแทรกซ้อนอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ฟังดูแล้วภาวะนี้ดูอันตรายกว่าที่เราคิด แต่เราก็มีแนวทางในการป้องกันการเกิดภาวะ MIS-C ได้คือ “การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง, ดูแลความสะอาด และลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะติดโควิด”

โควิดนั้นสามารถติดได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กที่เมื่อติดโควิดอาจมีความเสี่ยงในการเป็นที่มากกว่า เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สุขภาพ, ระดับภูมิคุ้มกัน และยังได้รับการยอมรับในการฉีดวัคซีนน้อย ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงของอาการมากกว่าผู้ติดเชื้อโควิดกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงภาวะ MIS-C ที่เกิดหลังเด็กหายติดโควิด ซึ่งถ้าเราไม่อยากให้เด็ก ๆ ที่บ้านมีความเสี่ยงในการติดโควิด เราก็สามารถใช้บริการพ่นยาฆ่าเชื้อที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจในบ้าน สถานที่ต่าง ๆ ด้วยน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ ที่เป็นนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ อย่าง ‘SteriPlant’ ที่มีคุณภาพสูง และความปลอดภัยระดับ Food Grade เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หากอยากอ่านบทความดี ๆ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดแบบนี้อีก ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link

ติดต่อสอบถาม

📱FB : m.me/wecleanvr

📟 Line@ : @wecleanvr (มี @ข้างหน้าด้วย)

Source: Allwellhealthcare. Childrenhospital. Hdmall. KomchadluekSikarin

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ