ทุกวันนี้เราเห็นข่าวทั้งโอไมครอนโควิดสายพันธุ์ใหม่ หรือจะเป็นคลัสเตอร์ใหม่ที่มีข่าวขึ้นมาให้เราได้เห็นทุกวี่ทุกวัน จนทุกวันนี้เราคงนึกสงสัยตัวเองว่า “นี่เราติดโควิดรึยัง?” พอไข้ขึ้น เจ็บคอ ไอจาม ก็คงรู้สึกใจตุ๊ม ๆ ต้อม ๆ ไปหมด อยากใช้ชีวิตสไตล์ New Normal ก็เหมือนจะไม่ค่อยได้ชินสักที ทำให้ชุดตรวจโควิด-19 อย่าง Antigen Test Kit หรือ ATK นั้นกลายเป็นไอเทมยอดฮิตในยุคนี้ไปแล้ว
เนื่องจากเวลาเราไปไหนมาไหนก็เสี่ยงจะติดโควิดอยู่แล้ว ทั้งตลาด ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ร้านเสื้อผ้า ฯลฯ ทำให้เราคงต้องมีตรวจเชื้อโควิดกันบ้าง เราเลยจะพาไปดูวิธีการเลือก, วิธีการตรวจของวิธีนี้, หลักการอ่าน และแปรผล รวมถึงวิธีการปฏิบัติตัวถ้าเราติดโควิดจริง ๆ มาให้เราดูกัน!
Antigen Test Kit; ATK คืออะไร? ใช้งานแบบไหน?
Antigen test kit วิธีการนี้เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจโควิดแบบ Rapid Test คือวิธีการที่ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด และภูมิคุ้มกันแบบเบื้องต้นจากสารคัดหลั่งของร่างกายเช่น จากโพรงจมูก หรือน้ำลาย โดยทดสอบรูปแบบนี้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว แถมสามารถทดสอบได้ด้วยตนเอง ส่วนอีกวิธีนึง คือ Antibody test kit เป็นวิธีการที่มีหลักการเหมือนกันแต่ใช้เลือดในการทดสอบ อีกทั้งยังไม่สามารถตรวจได้เอง ต้องตรวจที่โรงพยาบาล หรือใช้บุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น จริง ๆ แล้วก็มีการตรวจโควิดอีกวิธีอย่าง ‘RT-PCR’ ที่เป็นการตรวจโควิดมีความจำเพาะและแม่นยำสูง ถ้าใครอยากรู้ว่าวิธีนี้ต่างจากวิธีของ ATK ยังไง ก็เข้าไปตามอ่านต่อได้ที่ Link
ซึ่งวิธีการ ATK นั้นใช้ว่าเราอยากซื้อก็ซื้อมาตรวจได้เลย เพราะทุกวันนี้ก็คงมีที่ตรวจ ATK รูปแบบนี้หลากหลายยี่ห้อให้เราได้เลือกกัน เราเลยมาขอแนะนำหลักการเลือกชุดตรวจโควิดให้ปลอดภัย และได้มาตรฐานกัน
วิธีการเลือกชุดตรวจโควิดด้วยตัวเอง

– เลือกชุดตรวจยี่ห้อที่ผ่านการประเมินและขึ้นทะเบียนกับอย. แล้ว ปัจจุบันมีให้เลือกถึง 176 แบบเลยนะ เข้าไปเช็คยี่ห้อได้ที่ รวมรายชื่อชุดตรวจโควิดแบบ ATK ที่อย.อนุมัติ
– ถ้าหาชุดตรวจโควิดที่อย.อนุมัติไม่ได้ สามารถใช้ชุดตรวจ ATK ของสถานพยาบาลรัฐและเอกชน ที่มีการรับรองจากห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2 ของกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
– เช็ควันหมดอายุ และเลือกชุดตรวจที่ปิดผนึกสนิท ไม่มีรอยแกะ หรือภายในกล่องถูกบรรจุปิดสนิท ไม่มีรอยปริขาด เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนจนผลตรวจที่ได้ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงได้
เราควรตรวจเชื้อโควิดตอนไหน?

– มีอาการเข้าข่ายผู้ติดเชื้อโควิด เช่น ไข้สูง 37.5 องศาขึ้นไป, ไอ, เจ็บคอ, มีน้ำมูก หอบเหนื่อยง่าย สูญเสียประสาทรับรส เช่นจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
– เดินทางมาจากประเทศ หรือพื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อ
– ทำงานอาชีพที่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์, วิศวะ, ค้าขาย พนักงานบริษัท, พนักงานโรงงาน, อาชีพรับจ้าง, นักเรียนนักศึกษา
– บุคคลใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่คาดว่าจะเป็นโควิด และผู้ป่วยที่เป็นโควิด
ขั้นตอนการตรวจโควิดแบบแยงจมูก
1. เคลียร์จมูก หรือสั่งน้ำมูก (ถ้ามี) ก่อนทำการ Swab ก่อนทำการตรวจ
2. ล้างมือให้สะอาด หรือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทำการตรวจ แล้วเช็ดมือให้แห้งก่อนตรวจ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
3. เตรียมชุดเครื่องตรวจให้พร้อม จากนั้นเงยหน้าประมาณ 45 องศา แยงไม้เพื่อเก็บตัวอย่างเข้าไปในโพรงจมูกช้า ๆ ความลึกประมาณ 2 – 2.5 ซม. หรือ 1 นิ้ว หมุนเบา ๆ นับ 1-5 ก่อนจะสลับไปทำอีกข้าง
4. นำไม้ที่ Swab ใส่ในหลอดน้ำยาที่มีสารสำหรับการตรวจ บีบหลอดเล็กน้อยแล้วหมุนไม้ Swab ประมาณ 5 ครั้ง เพื่อให้สารคัดหลั่งผสมกับน้ำยามากที่สุด จากนั้นดึงไม้ Swab ออกตั้งฉากไม่ให้เลอะด้านข้าง พร้อมปิดจุกฝาให้สนิท
5. นำหลอดน้ำยามาหยดใส่ตลับทดลอง ซึ่งบางชุดตรวจอาจต้องทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที เตรียมชุดตลับชุดตรวจให้เรียบร้อย หยดน้ำยาใส่หลุมของชุดตรวจตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด (แต่ละชุดตรวจนั้นใช้ปริมาณแตกต่างกัน)
6. รออ่านผลประมาณ 15-30 นาที (ไม่ควรอ่านผลก่อน หรือเกินเวลาที่กำหนด)
ข้อควรระวัง:
- ต้องอ่านผลภายในเวลาที่กำหนด ห้ามอ่านก่อนหรือเกินเวลา ไม่งั้นผลอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้
- ไม่ควรแยงจมูกแรงจนเลือดออก เพราะอาจทำให้ผลการทดสอบผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงได้
- ห้ามเอามือจับบริเวณที่เก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจเด็ดขาด! เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อได้
ขั้นตอนการตรวจโควิดแบบน้ำลาย
– ล้างมือให้สะอาด หรือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทำการตรวจ แล้วเช็ดมือให้แห้งก่อนตรวจ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
– บ้วนน้ำลายโดยกระแอมจากลำคอ หรือทำเหมือนเราขากเสลด เก็บในถุงกระดาษ หรือหลอดเก็บตัวอย่างตามที่ชุดตรวจให้มา
– ดึงตัวอย่างจากที่เก็บตัวอย่างน้ำลายผสมกับหลอดน้ำยา ผสมให้เข้ากัน ปิดฝาสนิททำการสลับหลอดขึ้น-ลงประมาณ 10 ครั้ง
– หยดตัวอย่างใส่ตลับทดลอง หยดน้ำยาใส่หลุมของชุดตรวจตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด (แต่ละชุดตรวจนั้นใช้ปริมาณแตกต่างกัน)
– รออ่านผลประมาณ 15-30 นาที (ไม่ควรอ่านผลก่อน หรือเกินเวลาที่กำหนด)
ข้อควรระวัง:
- งดน้ำ งดอาหาร งดสูบบุหรี่และหมากฝรั่งประมาณ 30 นาทีขึ้นไปก่อนตรวจ
- งดแปรงฟัน และงดใช้น้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อก่อนตรวจ (สามารถใช้น้ำยาบ้วนปากก่อนทำการตรวจ 30 นาที)
วิธีอ่านผลตรวจ และแปรผลทดสอบ

ผลการทดลองนั้นแบ่งได้ 3 แบบ ได้แก่ ผลบวก, ผลลบ และผลที่ใช้งานไม่ได้
ผลทดสอบที่ได้ ติดเชื้อโควิด-19 หรือ ผลบวก (Positive)
ถ้าเราได้ผลการทดสอบเป็นบวก ชุดตรวจทดลองของเราจะแสดงเป็นขีด 2 เส้น บริเวณแถบควบคุม (C) และแถบทดสอบ (T) ถ้าสีของแถบต่างกัน หรือสีเพี้ยน อาจมาจากการเก็บชุดตรวจ แต่ก็ไม่มีกับผลตรวจของเรานะ
ผลทดสอบที่ได้ ไม่ติดเชื้อโควิด-19 หรือ ผลลบ (Negative)
ชุดตรวจของเราถ้าผลเป็นลบ จะแสดงแถบควบคุม (C) เพียงอย่างเดียว
ผลที่ใช้งานไม่ได้ (Error)
เวลาตรวจแล้วผล error หรือใช้งานไม่ได้ จะแสดงได้ 2 แบบ คือชุดตรวจนั้นจะไม่แสดงแถบอะไรเลย หรือชุดตรวจนั้นจะขึ้นแถบเพียงขีดเดียวฝั่งแถบทดสอบ (T) ซึ่งเมื่อแถบได้ผลใช้งานไม่ได้อาจเกิดจากชุดตรวจเรามีปัญหา หรือเราตรวจผิดวิธีนั้นเอง แนะนำให้ทำการทดสอบซ้ำอีกครั้งดูนะ
ถ้าตรวจได้ผลการตรวจเป็นบวก (Positive) ต้องทำยังไง?
อย่าพึ่งตกใจไป! เพราะการที่เราทดสอบโดยใช้วิธีแบบ Rapid Antigen Test; ATK นั้นใช่ว่าเราจะติดเชื้อโควิดเสมอไป เพราะการตรวจแบบนี้เราใช้เพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ทางที่ดีเราควรทำการทดสอบแบบ RT-PCR อีกรอบ และสำรวจอาการของตัวเองว่าเข้าข่ายโควิดรึเปล่า? เช่น มีไข้สูงถึง 37.5 องศาเซลเซียส ไอมีเสมหะ เจ็บคอไม่ได้กลิ่น หรือสูญเสียประสาทรับรส
แต่ถ้าผลการทดสอบของ RT-PCR นั้นยังเป็นผลบวก หรือแสดงว่าเราติดเชื้อโควิดอีก ให้แยกตัวแล้วกักตัวตัวเอง แล้วบอกคนใกล้ชิดที่อยู่ร่วมกับเรา จากนั้นให้รีบติดต่อหน่วยงานบริการใกล้ ๆ บ้าน เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือสถานพยาบาล ฯลฯ เพื่อประเมินอาการของตัวเอง และวางแผนการรักษาในขั้นต่อไป
แล้วถ้าผลการทดสอบเป็นลบ (Negative) ควรทำยังไง?
ถึงแม้ผลการทดสอบจะเป็นลบ แต่ก็ใช่ว่าเราจะนิ่งนอนใจทำตัวชิลคิดว่า เราคงรอดปลอดภัยหายห่วง ไม่ได้ติดโควิดเสมอไป แต่เราควรติดตามอาการของตัวเองอย่างใกล้ชิด ถ้าเรามีความเสี่ยงเคยใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรือเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงที่มีคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อโควิดมา เพราะเชื้อโควิดนั้นมีระยะฝักตัวยาวถึง 14 วัน เราก็ควรแยกมากักตัวคนเดียวก่อน และทำการทดสอบตรวจหาเชื้อโควิดอีกครั้งอีกประมาณ 3 – 5 วันแรก ซึ่งถ้าช่วงระหว่างกักตัวนั้นเกิดอาการผิดปกติและเข้าข่ายของอาการของโควิด เราก็ควรรีบไปตรวจทันที
We Clean VR บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อทำความสะอาดที่พักอาศัย สำนักงาน รถ ฯลฯ ด้วยน้ำยาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยกับร่างกายอย่าง ‘อิเล็กโทรไลต์ SteriPlant’ นวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ คุณภาพระดับ Food Grade
หากอยากอ่านบทความดี ๆ เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองในช่วงสถานการณ์โควิดแบบนี้อีก ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link
ติดต่อสอบถาม
Line@ : @wecleanvr (มี @ข้างหน้าด้วย)
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก Petcharavejhospital. Thairath. TheBangkokInsight