ไขข้อข้องใจ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อออกจาก Hospitel
ช่วงนี้หลาย ๆ คน คงพบเห็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ได้ไปรักษาตัวกัน ใน Hospitel ก็มีจุดประสงค์เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง หรือผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว จึงมีการปรับเปลี่ยนจากรูปแบบของ “โรงแรม” ให้เป็น “พื้นที่เฝ้าระวังอาการ” แทน เนื่องจากผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การมี Hospitel จึงเป็นการช่วยโรงพยาบาลให้สามารถรองรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้เต็มที่และได้ดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้ป่วยที่พักอยู่จะได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ โดยทีมแพทย์จะดำเนินการตรวจ และบันทึกอาการผู้ป่วยทุกวัน ซึ่ง 1 Hospitel จะมีแพทย์ 1 คนประจำ และมีพยาบาล
ในอัตราส่วน 20 เตียง ต่อ 1 คน โดยจะมีการตรวจผู้ป่วยผ่านเทเลเมดิซีน และแอปพลิเคชันไลน์ มีการเยี่ยมผู้ป่วยทุกวัน พร้อมทั้งมีเครื่องมือพื้นฐานต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดระดับความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด และเครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้ป่วยที่จะสามารถเข้ารับการรักษาที่ Hospitel จะต้องผ่านการตรวจคัดกรองจากโรงพยาบาลหลักก่อน มีหลักฐานยืนยัน จึงจะสามารถเข้ารับการรักษาได้
และในกรณีของผู้ป่วยที่รักษาตัวครบ 14 วันเรียบร้อยแล้ว ก็อาจจะเกิดคำถามจากทั้งตัวเองและคนรอบข้างว่า เอ๊ะ แล้ว..ต่อจากนี้ตนเองจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ? ยังต้องกักตัวไหม ? หรือต้อง Swab อีกครั้งไหมนะ ? คนรอบข้างจะอันตราย หรือจะยังมีการแพร่เชื้ออยู่หรือไม่ ?
We Clean VR เลยรวบรวมแนวทางการปฏิบัติตัวหลังออกจาก Hospitel มาให้ พร้อมตอบทุกคำถามยอดฮิต ไขทุกข้อข้องใจให้กับทุก ๆ คน
ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อออกจาก Hospitel
1. ไม่จำเป็นต้องกักตัวเพิ่ม
หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยในเรื่องของการกักตัว หลังจากรักษาอาการป่วยครบ 14 วันแล้ว ยังจะต้องกักตัวต่อเพิ่มอีก 14 วันหรือไม่ ก็สามารถตอบตรงนี้ได้เลยว่า “ไม่จำเป็น” ผู้ที่หายป่วยแล้วจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สามารถเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ หรือไปทำงานได้เลย โดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง หรือ ใช้ชีวิตวิถีใหม่ แบบ New Normal
ทั้งนี้ผู้ที่หายป่วยแล้ว ก็จะต้องสังเกตอาการตัวเองร่วมด้วยนะ เพราะอาจจะเกิดภาวะ Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาวได้ โดยผลกระทบของ Long COVID ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายเลย ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท, ระบบทางเดินอาหาร,หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายอาจจะยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว
2. ควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่น
แม้จะรักษาตัวจนไม่มีอาการใด ๆ หรือหายดีเป็นปกติแล้ว แต่เราก็ยังคงต้องใช้ชีวิตตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม หากดูตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกนั้น การเว้นระยะห่างระหว่างตัวเรากับคนที่มีอาการไอ หรือจามนั้น ก็ควรรักษาความห่างอยู่ที่อย่างน้อย 1 เมตร เพราะ ไวรัสนั้นสามารถติดต่อได้ผ่านละอองขนาดเล็กที่มาจากการไอหรือจามได้ ซึ่งถ้าหากอยู่ใกล้ชิดกันเกินไปเราก็อาจจะสูดเอาไวรัสเข้าร่างกายได้
เพื่อเป็นการลดอัตราความเสี่ยงในการสัมผัสโรค ก็ควรเลี่ยงกิจกรรมที่มีจะมีการรวมกลุ่ม มีจำนวนคนเยอะ ๆ ไม่อยู่กันอย่างหนาแน่น รวมถึงการลดการออกไปนอกบ้านโดยไม่จำเป็น และควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะด้วย
3. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
ชีวิตวิถีใหม่กับการใส่หน้ากากอนามัย จนกลายเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของใบหน้า แม้จะเป็นการบดบังความสวย – หล่อของใบหน้าเราแค่ไหน แต่ก็ต้องอดทนกันไว้ก่อนนะ เพราะการใส่หน้ากากอนามัย นอกจากจะเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อของเราไปสู่คนอื่น ก็ยังเป็นการป้องกันเชื้อจากคนอื่นที่จะเข้ามาสู่ตัวเราได้อีก ดังนั้น ถึงจะหายจากโควิด-19 แล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสได้รับเชื้ออยู่ตลอด และสามารถติดเชื้อซ้ำได้ เราจึงจำเป็นต้องป้องกันตนเองให้ดี
4. ใช้สิ่งของอุปกรณ์ส่วนตัว
แม้เราจะปลอดจากเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่เพื่อความปลอดภัย พร้อมกับความมั่นใจ จากเชื้อของบุคคลอื่น หรืออาจจะเป็นเชื้อเดิมที่หลงเหลือติดอยู่ตามอุปกรณ์สิ่งของต่าง ๆ ของเรา เราจึงควรใช้สิ่งของและอุปกรณ์ส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น และหมั่นทำความสะอาดสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวที่เราได้สัมผัสอยู่เสมอ
- กรณีเป็นสิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ก็ควรใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5% ในการเช็ดเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- กรณีเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ We Clean VR เราก็มีบริการรับพ่นน้ำยากำจัดเชื้อโรค (ทั้งไวรัส และแบคทีเรียได้ถึง 99.9%) ด้วยน้ำอิเล็กโทรไลต์ SteriPlant ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่จากสวิตเซอร์แลนด์ ที่ทำให้เรามั่นใจได้ว่าไม่ว่าจุดไหน บริเวณใด ก็ปราศจากเชื้อไวรัสอย่างแน่นอน
5. ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์
เมื่อทำความสะอาดสิ่งของเสร็จเรียบร้อย ก็ต่อด้วยการทำความสะอาดมือ ที่เราใช้สัมผัสสิ่งของเหล่านั้น โดยสามารถทำความสะอาดได้ด้วยสบู่และน้ำก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดี แต่หากเวลานั้นเราไม่มีน้ำหรือสบู่ ก็สามารถใช้เจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากกว่า 70% ได้เช่นกัน และควรฟอกมือและล้างให้นานกว่า 20 วินาที เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ
6. ฉีดวัคซีน COVID-19
ตามปกติส่วนใหญ่ในช่วงเวลา 2 เดือน จากการติดเชื้อโควิด-19 และมีการรักษาหายแล้ว
ผู้ป่วยจะมีภูมิต้านทานเชื้อโควิด-19 อยู่ในร่างกาย แต่ภูมิต้านทานนั้น จะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ใหม่หรือการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ก็มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลังจากที่รักษาหายแล้วภายใน 1-3 เดือนหลังจากเริ่มป่วย ส่วนคนที่เคยได้วัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดเพิ่มอีก
7. หากมีอาการไม่พึงประสงค์ ให้รีบติดต่อสถานพยาบาลทันที
กรณีที่ผู้หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว แต่มีอาการเสี่ยงน่าเป็นห่วง เช่น มีไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก ก็ควรรีบติดต่อสถานพยาบาลเดิมที่เคยรักษาทันที ไม่ควรปล่อยให้มีอาการหนักเลยนะ เพราะอาการเหล่านี้อาจจะเสี่ยงต่อชีวิตได้
8. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ในช่วงเวลาที่เราป่วยหรือรักษาโควิดอยู่นั้น แม้จะบอกว่าในระหว่างการเข้ารับการรักษา เราก็เหมือนได้พักผ่อนไปด้วย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนป่วยกับตอนมีอาการปกติ การพักผ่อนระหว่างนั้น แตกต่างกัน หลังจากหายป่วยเราจึงควรนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายนั้นได้ซ่อมแซมตัวเอง และให้สุขภาพแข็งแรง สามารถสู้กับอาการป่วยได้
เมื่อรู้แนวทางการปฏิบัติตัวแล้ว สำหรับใครที่กำลังจะออกจาก Hospitel หรือมีคนรอบข้างที่หายป่วยจากโควิด-19 กำลังจะกลับบ้าน ก็สามารถนำแนวทางต่าง ๆ เหล่านี้ไปปรับใช้กันได้เลย We Clean VR ขอเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ที่จะป้องกันเชื้อไวรัส เชื้อโรค และแบคทีเรีย และสิ่งสกปรกต่าง ๆ ให้กับทุกคน เพื่อให้ทุกคนผ่านสถานการณ์ร้ายนี้ไปได้ หากอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมดี ๆ เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองในช่วงสถานการณ์โควิดแบบนี้ ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link
สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่
📱FB : https://www.facebook.com/wecleanvr
📟 Line@ : @wecleanvr ( มี @ ข้างหน้าด้วย )
Source : prodisinfectionservices