บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

โอไมครอน

โควิดยังไม่หยุด! ทำความรู้จัก “โอไมครอน” โควิดสายพันธ์ุใหม่ที่กลายพันธุ์มากกว่าเดิม

“โอไมครอน” หรือ “โอมิครอน” โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่มีมาแบบไม่มีพัก ไม่มีหยุด ไม่มีหย่อน อาจจะเชื่อได้ว่า สายพันธุ์อื่นก็น่าจะมีเข้ามาเรื่อย ๆ ซึ่งความสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ มนุษย์เราจะสามารถรับมือกับโควิดได้แค่ไหน และ เมื่อไหร่ เชื้อไวรัสโควิดเหล่านี้ ถึงจะกลายเป็นเพียงแค่ไข้หวัดธรรมดา ที่ไม่ว่าใครติด กินยา รักษาตัวไม่นาน ไม่กี่วันก็สามารถหายได้

โควิดสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน แม้จะยังพบว่าไม่รุนแรงมาก แต่ เราก็ไม่สามารถชะล่าใจได้ ต้องจับตามองและเฝ้าระวังอยู่ตลอด เพราะเราไม่รู้ว่าสถานการณ์โควิดที่ทั่วโลกกำลังประสบอยู่นี้ จะหยุดลงเมื่อไหร่ แม้ตอนนี้จะมีมาตรการเปิดประเทศ ให้กินข้าวนอกบ้านได้ หรือ กลับมาเที่ยวกันได้ตามปกติ แต่ ทุกพื้นที่ก็ยังคงอันตรายและทุกคนก็ยังเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้อยู่ดี 

ทำความรู้จัก กับ “โอไมครอน” โควิดสายพันธุ์ใหม่ !

การระบาดของโควิด-19 โอมิครอนถูกระบุแยกแยะออกมาเป็นครั้งแรกในจังหวัดเคาเต็ง ( Gauteng ) ของแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีการพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนแล้วในอย่างน้อย 13 ประเทศ ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เบลเยียม ฮ่องกง อิสราเอล อังกฤษ เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก ผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมดอยู่ในหลักร้อย
( ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 )

ไวรัสโควิดชนิดใหม่นี้มีการกลายพันธุ์ของยีนรวมทั้งสิ้นถึง 50 ตำแหน่ง ทำให้มันมีความแตกต่างจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่นๆ เป็นอย่างมาก มีการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง และยังมีการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ ( receptor binding domain ) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง ขณะที่สายพันธุ์เดลตาที่ระบาดหนักครอบงำทั่วโลกอยู่ขณะนี้ มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น นั่นจึงเหตุผลที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในหลายประเทศกังวลว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดแพร่กระจายในวงกว้างไปเป็นวงกว้าง โลกอาจต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตอีกครั้ง

อาการของโควิดกลายพันธุ์โอไมครอน

– อาจมีอาการไม่สบายแค่ 1-2 วัน

– จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี

– ไม่ค่อยมีไข้

– รู้สึกล้า และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

– มีอาการไอเล็กน้อย ระคายคอ

– อาการยังไม่ชัดเท่าสายพันธุ์อื่น

– ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หากติดเชื้ออาจทำให้มีอาการรุนแรง

– อาการโดยรวม เบื้องต้นพบว่าไม่รุนแรง สามารถรักษาที่บ้านได้

อาการเบื้องต้นยังไม่ชัดเท่าสายพันธุ์อื่น แต่อาการบ่งบอกคร่าว ๆ นั้นก็สามารถจับเป็นกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อโอมิครอนได้เช่นกัน 

โอไมครอน ลดประสิทธิภาพของวัคซีน ?

คนที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังสามารถติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนนี้ได้ แต่มีอาการน้อย หรือแทบจะไม่แสดงอาการ วัคซีนยังคงได้ผลในแง่ของการป้องกันความรุนแรงของโรค แต่ลดประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อที่เกิดจากวัคซีนได้ ซึ่งคาดว่า จะต้องมีการพัฒนาวัคซีนกันต่อไปให้ทันกับการกลายพันธุ์ ( Mutation ) ในอนาคต โดยเราอาจจะต้องมีการฉีดวัคซีนกันถี่มากยิ่งขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ โดยให้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ( Booster Dose ) เร็วขึ้นจากเดิม 6 เดือน มาเป็นที่ 3 เดือน ตามคำแนะนำของ WHO

ความรุนแรงของ โอไมครอน 

ในผู้ป่วยที่พบนอกทวีปแอฟริกา จำนวนมากกว่าพันราย ส่วนใหญ่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ในทวีปแอฟริกาเอง มีการรายงานเบื้องต้น ในถิ่นระบาดของโรค พบว่า ส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ และ ที่เหลือส่วนใหญ่มีอาการน้อย

เพราะในระยะเริ่มต้นการติดเชื้อ อาจจะยังมีอาการน้อย การเกิดปอดบวม หรือต้องเข้าโรงพยาบาล จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง คำถามข้อนี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ ว่ามีความรุนแรงอย่างไร คงต้องรอคำตอบอีกประมาณ 2 สัปดาห์ก็น่าจะรู้เรื่อง แต่แนวโน้มความรุนแรงลดลง ความสำคัญของ โอมิครอน อยู่ที่ “ ความรุนแรงของโรค ” ว่าเชื้อนี้จะลดความรุนแรงลงหรือไม่ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะแพร่กระจายได้เป็นจำนวนมาก และหลบหลีกภูมิต้านทานได้เป็นบางส่วน

โอไมครอน ดื้อต่อการใช้ยารักษาไหม ?

สายพันธุ์โอมิครอนนี้ ยาที่รักษา COVID ยังได้ผลอยู่ไหม? ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานระบุว่า สายพันธุ์นี้ดื้อต่อยาที่ใช้รักษา ต้องรอการรายงานต่อไป เพราะยาฟาวิพิราเวียร์ ( Favipiravir ) หรือว่า ยาเรมเดซิเวียร์ ( Remdesivir ) ต่างก็มีกลไกในการออกฤทธิ์ที่บริเวณเชื้อจะเข้าเซลล์และแบ่งตัว ซึ่งใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อ ( Mutation ) สายพันธุ์โอมิครอนนี้

สำหรับประเด็นเกี่ยวกับวิธีในการตรวจวินิจฉัย ก็เป็นอีกประเด็นที่เราต้องให้ความสนใจ โดยในวิธีการวินิจฉัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

– การตรวจด้วย RT-PCR ( Real Time PCR ) การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้คิดว่าไม่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น เราสามารถตรวจ Detect ได้หลายยีน ( Genes ) และยังไม่พบการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง N gene กับ ORF gene

– การตรวจด้วย Rapid Antigen Test ( ATK ) สำหรับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่ามีการทดสอบตรงตำแหน่งส่วนไหนของเชื้อไวรัส หากมีการทดสอบตำแหน่งที่เกิดการกลายพันธุ์ก็จะมีโอกาสเกิดผลลบลวง ( False Negative ) ได้เยอะขึ้น ซึ่งการเลือกใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit ควรเลือกใช้ชุดตรวจที่ได้มาตรฐาน และดูที่ความไว ( Sensitivity ) ของชุดตรวจโควิดนั้นด้วย

วิธีป้องกันตนเอง

– ฉีดวัคซีน ให้ครบ 2 เข็ม : ใครที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน ต้องรีบไปรับวัคซีนทันที

– รับวัคซีนเข็ม 3 ด่วน : รับวัคซีนเข็ม 3 หรือ Booster Dose โดยเว้นระยะห่าง 3 เดือน

– สวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน : หน้ากากต้องแนบสนิทกับใบหน้า

– หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก : พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายยิ่งขึ้น

– หมั่นล้างมือบ่อยๆ : ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล

– รักษาระยะห่างกับคนอื่น : เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร

– หลีกเลี่ยงสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท : ไม่ไปในสถานที่แออัด หรือมีการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก

– ระมัดระวังและสังเกตอาการอยู่เสมอ : สังเกตอาการของตัวเองและคนรอบข้าง

ดังนั้นเราก็ควรสังเกตตัวเองดูดี ๆ หากรู้สึกว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ให้รีบเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจทันที เพื่อความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้างที่อาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย นอกจากนี้ก็ควรหมั่นทำความสะอาดร่างกาย สิ่งของ สถานที่ต่าง ๆ ให้ปลอดเชื้อที่สุด We Clean VR พร้อมให้บริการ และให้คำปรึกษาการฉีดพ่นฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดตั้งแต่ในบ้าน คอนโด ไปจนถึงรถยนต์ เพื่อให้คุณอยู่บ้านและสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสบายใจ และปลอดภัยยิ่งขึ้นกว่าเดิม หากอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมดี ๆ เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองในช่วงสถานการณ์โควิดแบบนี้ ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ >> LINK

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์, Facebook ศูนย์ข้อมูล Covid-19, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ