บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

แชร์ทริค ! ใส่หน้ากากอนามัยยังไง ให้ปลอดภัยห่างไกล Covid-19

แชร์ทริค ! ใส่หน้ากากอนามัยยังไง ให้ปลอดภัยห่างไกล Covid-19

กี่ปีแล้วที่ตอนนี้เราไม่เห็นหน้าแบบเต็ม ๆ ของเพื่อน คนรู้จัก ครอบครัว เมื่ออยู่ข้างนอก หรือเวลาออกไปไหนมาไหน เพราะทุกคนต่างใส่ “ หน้ากากอนามัย หรือแมส” เพื่อป้องกันตัวเองเชื้อโควิด-19 รวมถึงยังช่วยป้องกันผู้ป่วยที่มีการไอ จาม น้ำมูก หรือคนที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อได้ง่ายอีกด้วย เช่น คนขับแท็กซี่, ผู้รับเหมา, บุคลากรในโรงพยาบาล ไปจนถึงพนักงานออฟฟิศอีกด้วย  

ทำให้หลายคนคงนึกสงสัย เห็นหน้ากากอนามัยนั้นมีตั้งหลากหลายประเภท แล้วแบบไหนที่ป้องกัน และมีประสิทธิภาพมากสุด, วิธีใส่ หน้ากากอนามัย ที่ถูกต้อง และข้อสงสัยที่เราชอบตั้งคำถามกันเช่น เราควรใส่ หน้ากากอนามัย แบบชั้นเดียว หรือใส่สองชั้น แล้วถ้าใส่สลับด้านจะทำให้ประสิทธิภาพนั้นต่ำกว่าใส่ถูกด้านหรือไม่? ถ้าพร้อมไปหาคำตอบกับเราแล้วก็ไปดูพร้อมกันได้เลย!

ประเภทหน้ากากอนามัย – แบบไหนกันเชื้อ แบบไหนกันฝุ่น?

การเลือก หน้ากากอนามัย นั้นถือเป็นขั้นตอนแรกของการเลือกหน้ากากอนามัย เพราะหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน แต่หน้ากากอนามัยที่เรานิยมใช้นั้นในตอนนี้มีให้เราได้เลือกถึง 6 แบบ โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรค และฝุ่นแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้ดังนี้

1.หน้ากากอนามัย N95 (Mask N95)

หน้ากากอนามัยประเภทนี้ถือเป็นประเภทที่มีประสิทธิภาพป้องกันสูงที่สุดเมื่อเทียบกับหน้ากากแบบอื่น ๆ ซึ่งบางรุ่นนั้นจะมีวาล์วระบายอากาศ เพื่อทำให้หายใจได้สะดวก และช่วยระบายความร้อน แต่จะมีราคาสูงกว่าแบบอื่น ๆ 

การป้องกัน: ป้องกันเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน,ฝุ่นละออง PM 2.5, สารเคมี และฟูมโลหะได้

ข้อควรระวัง

– ไม่เหมาะสำหรับใส่ขณะออกกำลังกาย เพราะจะทำให้หายใจได้ไม่สะดวก 

– ไม่ควรนำมาซัก ถ้าใช้ในรูปแบบที่ซักไม่ได้ เนื่องจากจะทำให้ลดประสิทธิภาพการกรองได้

– หน้ากาก N95 รูปแบบวาล์วนั้นไม่ควรใส่โดยเฉพาะ ผู้ที่ติดเชื้อ เนื่องจากช่องวาล์วระบายอากาศอาจทำให้เชื้อเล็ดลอดออกมาได้

2. หน้ากาก FFP1 (Mask FFP1)

หน้ากากรูปแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นแฝดคนละฝากับหน้ากากแบบ N95 เลยก็ว่าได้ เพราะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน แต่หน้ากาก N95 จะสามารถป้องกันได้มากกว่าเล็กน้อย โดยหน้ากากนี้มีลักษณะส่วนบนมีความโค้งเว้า ครอบลง

การป้องกัน: ป้องกันเชื้อโรค, แบคทีเรีย, ไวรัส และฝุ่นที่มีขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM10 ไม่น้อยกว่า 94% 

3. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือหน้ากากแบบทั่วไป (Surgical Mask)

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์

หน้ากากอนามัยที่ยอดฮิตและคนนิยมใส่มากที่สุดก็คงต้องเป็น หน้ากากเขียวฟ้า หรือ “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์” ที่เราสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ราคาจับต้องได้ ลักษณะเป็นสีเขียว หรือฟ้า

การป้องกัน: ป้องกันเชื้อโรคที่ปนมากับละอองน้ำมูก หรือน้ำลายได้

ข้อควรระวัง

– อายุการใช้งานสั้น ควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เนื่องจากการใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งนั้นอาจทำให้กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้

4. หน้ากากอนามัยแบบคาร์บอน (Activated Carbon Mask)

หน้ากากสีดำ หรือหน้ากากคาร์บอนนั้นเป็นหน้ากากที่มีประสิทธิภาพป้องกันน้อยกว่า หน้ากากทางการแพทย์ แต่ต่างกันตรงที่แบบคาร์บอนนั้นมีเยื่อชั้นคาร์บอนที่ช่วยกรองกลิ่นได้มากกว่า

การป้องกัน: ป้องกันเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย และป้องกันฝุ่น กรณีสวมทับ 2 ชั้นสามารถกรองฝุ่นละออง 3 ไมครอนได้มากกว่า 89% 

5. หน้ากากแบบผ้าฝ้าย (Cloth Mask / Dust Mask)

หน้ากากรูปแบบนี้มีลักษณะ 2 แบบ คือแบบที่ผลิตจากผ้าฝ้าย และแบบที่ผลิตจากใยสังเคราะห์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหน้ากากทางการแพทย์ แต่มีความบางที่มากกว่า

การป้องกัน: ป้องกันการกระจายของสารคัดหลั่งจากการไอจาม แต่ ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคขนาดเล็กมาก ๆ ได้ มักใช้ป้องกันฝุ่นละอองที่ใหญ่กว่า 3 ไมครอน

ข้อควรระวัง

– หน้ากากชนิดนี้อาจมีลักษณะคล้ายกับหน้ากากรูปแบบทางการแพทย์ ทำให้อาจสับสนกันได้

– ไม่สามารถป้องกันฝุ่นละอองที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ (พบมากในปัจจุบัน)

6. หน้ากากฟองน้ำ (Sponge Mask)

หน้ากากแบบฟองน้ำที่เรามักเห็นนำมาใส่เพื่อแฟชั่นกัน โดยทำจากโพลียูรีเทนคาร์บอนสำหรับกรองอากาศโดยเฉพาะ ซักทำความสะอาดได้ง่าย แห้งเร็ว พับเก็บได้ไม่เสียรูป

การป้องกัน: ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และเกสรดอกไม้ แต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้

ข้อควรระวัง

– ไม่เหมาะสำหรับใส่ขณะออกกำลังกาย เพราะจะทำให้หายใจได้ไม่สะดวก 

– ไม่ควรนำมาซัก ถ้าใช้ในรูปแบบที่ซักไม่ได้ เนื่องจากจะทำให้ลดประสิทธิภาพการกรองได้

– หน้ากาก N95 รูปแบบวาล์วนั้นไม่ควรใส่โดยเฉพาะ ผู้ที่ติดเชื้อ เนื่องจากช่องวาล์วระบายอากาศอาจทำให้เชื้อเล็ดลอดออกมาได้

ดังนั้นเราจึงควรเลือกหน้ากากอนามัยให้ถูกตามความต้องการของเรา เช่นถ้าเราต้องการหน้ากากอนามัยแบบกันฝุ่นเฉยๆ เราก็ควรเลือกหน้ากากแบบผ้า หรือคาร์บอน แต่ถ้าจะใช้ หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 เราควรเลือกใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (หน้ากากทั่วไป), หน้ากาก FFP1, หน้ากากคาร์บอน และหน้ากากแบบ N95 (มักใช้ในบุคลากรทางการแพทย์) แต่การจะใส่หน้ากากอนามัยนั้นเราก็ควรรู้วิธีใส่ที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ช่วยป้องกัน และเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิด 

วิธีใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร?

– ล้างทำความสะอาดมือก่อนใส่หน้ากาก

– เลือกหันหน้ากากอนามัยด้านสีขาวเข้าตัว และหันด้านสีออกข้างนอก

– จับสายด้านข้างแล้วคล้องที่หู จากนั้นกดแกนโลหะของแมสที่บริเวณจมูกให้แนบกับใบหน้า

– ดึงหน้ากากลงมาให้ปิดสนิทจากจมูกถึงใต้คาง

– ไม่ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน กรณีใช้หน้ากากผ้าให้ซักทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน

ซึ่งการใส่หน้ากากอนามัยเรายังสามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันได้ด้วย (อ้างอิงจาก EPA) ได้แก่

– สวมหน้ากากอนามัยแบบปกติ ประสิทธิภาพป้องกัน 38.5%

– สวมหน้ากากอนามัยแบบไขว้สายรัดหู ประสิทธิภาพป้องกัน 60.3%

– สวมหน้ากากอนามัยโดยใช้คลิปเกี่ยวไว้กับผม ประสิทธิภาพป้องกัน 64.8%

– สวมหน้ากากอนามัยสองชั้น (หน้ากากทางการแพทย์แล้วสวมหน้ากากผ้าทับ)  95% (กรมควบคุมโรค)

วิธีถอดหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

– ใช้นิ้วเกี่ยวสายคล้อง จากนั้นพับด้านที่เข้าหาตัวไว้ข้างในแล้วใช้สายคล้องมัด เพื่อความสะอาด และลดการป้องกันไม่ให้เชื้อกระจายปนเปื้อน

– ห้ามสัมผัสหน้ากากโดยตรง และหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว เนื่องจากอาจได้รับเชื้อที่ติดอยู่รอบนอกของหน้ากาก

ถ้าใส่หน้ากากอนามัยผิดด้านได้หรือไม่?

ทุกคนคงต้องเคยเถียงกับเพื่อน หรือสงสัยอยู่กันแน่ ๆ ว่า หน้ากากทางการแพทย์ที่มีสีฟ้า หรือสีเขียวที่เราใช้กันอยู่ ตกลงต้องเอาด้านไหนหันออกกันแน่ ซึ่งถ้าตามหลักการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องนั้นคือ ต้องเอาด้านสีหันออกข้างนอก ด้านที่เป็นสีขาวหันเข้าหาตัวเอง 

ถ้าอย่างนั้นเราใส่ผิดด้านแล้วจะเป็นอะไรรึเปล่า? เพจหมอแล็ปแพนด้า หรือ นายแพทย์ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นั้นออกมาบอกว่า การใส่หน้ากากอนามัยผิด หรือถูกด้านนั้นก็ประสิทธิภาพไม่ต่างกันมากนัก เพราะใช้หลักการกรอง และสามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อที่มาจากการไอ จามได้เหมือนกัน 

หน้ากากอนามัยสามารถใช้ซ้ำได้หรือไม่?

เราขอแบ่งหน้ากากเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ หน้ากากอนามัยแบบผ้า กับฟองน้ำ และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (แบบทั่วไป และ N95) โดยหน้ากากอนามัยแบบผ้า กับฟองน้ำนั้นเราสามารถซักทำความสะอาดได้ ส่วนหน้ากากทางการแพทย์นั้น แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร (อธิบดีกรมอนามัย) แนะนำว่า “ควรใส่วันเดียว แล้วทิ้ง” แต่หากจำเป็นต้องใช้ซ้ำจริง ๆ ก็ใช้ต่อได้อีกวัน ซึ่งหน้ากากที่มาใช้ซ้ำนั้นต้องอยู่ในสภาพดี ไม่ชำรุด ไม่เปื้อน สายยางไม่หย่อนจนไม่แนบชิดกับหน้า 

แล้วหน้ากากทางการแพทย์ซักได้ไหม? การนำหน้ากากทางการแพทย์มาซักทำความสะอาดนั้น จะทำให้เส้นใยสังเคราะห์ในหน้ากากอนามัยสูญเสียคุณสมบัติของการป้องกันเชื้อโรค อีกทั้งยังเป็นขุยที่อาจทำให้เราหายใจติดขัดอีกด้วย

เราควรใส่หน้ากากแบบไหนถึงจะได้ประสิทธิภาพที่สุด?

อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพและป้องกันเชื้อได้มากสุด คือ ‘หน้ากาก N95’ แต่หน้ากากรูปแบบนี้มีราคาแพง อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในท้องตลาด ทำให้หน้ากาก N95 สงวนสิทธิ์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์

ซึ่งศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคโรคติตต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (Center for Disease Control and Prevention; CDC) ออกมาประกาศว่า หน้ากากอนามัยที่ช่วยป้องกันตัวเองได้ คือหน้ากากที่เป็นผ้าใยถักทอหนาแน่นหลายชั้น, หน้ากากอนามัยที่ใช้ฟีลเตอร์แบบรูระบายอากาศ และหน้ากากผ้าทับหน้ากากทางการแพทย์ที่ใช้แล้วทิ้ง

โดยการใส่หน้ากากอนามัยที่เหมาะสมมากที่สุดคือ การสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น แบบ “หน้ากากทางการแพทย์+หน้ากากผ้า (สวมทับ)” ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 95% อีกทั้งการใส่หน้ากากอนามัยแบบ 2 ชั้นเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันมากกว่าการใส่หน้ากากแบบชั้นเดียว แต่ไม่แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 2 ชั้น (หน้ากากทางการแพทย์+หน้ากากทางแพทย์) เนื่องจากอาจเป็นการสิ้นเปลืองมากจนเกินไป และการใช้หน้ากากผ้ามาสวมทับนั้นเราสามารถซักทำความสะอาดได้อยู่เสมอ ซึ่งเราสามารถใส่หน้ากากชั้นเดียวได้แต่ควรใส่ให้ปิดสนิทแนบชิดกับใบหน้า

ถึงแม้หน้ากากอนามัยนั้นจะช่วยป้องกันเราจากเชื้อโควิด-19 ได้ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้  100% ทำให้เวลาเราไปไหนมาไหนเราต้องคอยระวังตัว และทำตัวสไตล์ New Normal การเว้นระยะห่าง (Social Distancing) ลดการไปที่แออัด ฯลฯ 

ส่วนใครที่ยังกังวลเรื่องความปลอดภัย We Clean VR เรามีบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อพร้อมให้คำปรึกษา และทำความสะอาดบ้าน คอนโด สถานที่พักอาศัย และสำนักงาน ฯลฯ ด้วยน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ SteriPlant นวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ คุณภาพระดับ Food Grade ที่ปลอดภัยทั้งตัวเราและสิ่งแวดล้อม

หากอยากอ่านบทความดี ๆ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดแบบนี้อีก ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link

ติดต่อสอบถาม

📱FB : m.me/wecleanvr

📟 Line@ : @wecleanvr (มี @ข้างหน้าด้วย)

Source: Brighttv . epa. kapook. Medo. RamaChannel 

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ