บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

รู้หรือไม่ สัตว์เลี้ยงสุดที่รักก็สามารถติดโควิดได้นะ !

รู้หรือไม่ สัตว์เลี้ยงติดโควิด ก็อันตรายเหมือนกันนะ !

สำหรับใครที่มีน้องหมาน้องแมวเป็นสมาชิกในบ้านด้วย เชื่อว่าคงมีความกังวลอยู่ไม่น้อยเลยใช่ไหมคะว่า สัตว์เลี้ยงติดโควิด ได้หรือไม่ บทความนี้ได้รวบรวมคำตอบไว้ให้ทุกคนแล้วค่ะ

สัตว์เลี้ยงติดโควิดได้ไหม แล้วมีโอกาสติดมากน้อยแค่ไหน?

กรณีศึกษางานวิจัยของ รศ.นพ. ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะสัตวแพทย์ พบว่า ‘เชื้อโควิดจากมนุษย์นั้นสามารถแพร่ระบาดสู่สัตว์เลี้ยงได้’ จากการทดลองเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจากสัตว์โดยทำการ Swab เชื้อของสัตว์ที่อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 พบว่า สุนัขที่ทำการทดลองจำนวน 35 ตัว ได้รับเชื้อ 1 ตัว และแมว 9 ตัว ได้รับเชื้อ 1 ตัว ทั้งนี้ โอกาสที่จะติดเชื้อนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิเช่น สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และสภาพร่างกายของสัตว์เลี้ยงรวมไปถึงเจ้าของ เป็นต้น ถึงแม้ว่าโอกาสที่น้องหมาน้องแมวจะได้รับเชื้อนั้นมีน้อยก็ตาม แม่ๆ พ่อๆ อย่างเราก็ไม่ควรชะล่าใจนะคะ ตามไปอ่านวิธีป้องกันกันเลยค่ะ

วิธีป้องน้อง ๆ ไม่ให้ติดโควิดจากเจ้าของ

เราคงต้องมองก่อนว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงติดนั้นอยู่ในกลุ่มไหน เช่นเป็นกลุ่มเสี่ยงกำลังกักตัว 14 วัน, กลุ่มที่ติดเชื้อโควิดแต่มีคนในบ้านไม่ติดเชื้อ, เจ้าของติดเชื้อโควิดอยู่คนเดียวแล้วกำลัง Home Isolation อยู่ โดยแต่ละกรณีสามารถทำได้ ดังนี้

1. กรณีเจ้าของเป็นกลุ่มเสี่ยงต้องกักตัว 14 วัน

– ดูแลสัตว์เลี้ยงได้ตามปกติ แต่งดใกล้ชิด เช่น พาไปนอนร่วมห้อง กอด หอม

– ใส่หน้ากาก และถุงมืออนามัย รวมถึงล้างมือทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่ให้อาหาร เปลี่ยนน้ำ

– หากมีครอบครัว หรือคนรู้จักที่พร้อมดูแลสามารถให้รับเลี้ยงแทนได้ แต่งดเข้าใกล้และนอนร่วมห้อง ซึ่งเมื่อสัตว์เลี้ยงมาถึงต้องอาบน้ำด้วยแชมพูก่อน

2. กรณีเจ้าของติดโควิด แต่สมาชิกในบ้านไม่ติดเชื้อ

– เจ้าของไม่สัมผัสสัตว์เลี้ยง และแยกกันอยู่เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปยังสัตว์เลี้ยง

– เมื่อสัตว์เลี้ยงไปถึงผู้ดูแล ให้อาบน้ำทำความสะอาดด้วยแชมพูอาบน้ำของสัตว์เลี้ยงตามปกติก่อนพาเข้ามาเลี้ยงยังบริเวณ ห้ามใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อมาอาบสัตว์เลี้ยง

– ให้สมาชิกในบ้านที่ไม่ติดเชื้อดูแลแทน แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำ และให้อาหาร

– งดให้สัตว์เลี้ยงใกล้ชิด และนอนร่วมห้อง

3. กรณีเจ้าของติดโควิด และต้องรักษาตัวอยู่บ้าน (Home Isolation)

– เจ้าของไม่สัมผัสสัตว์เลี้ยง และแยกกันอยู่เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปยังสัตว์เลี้ยง

– เมื่อสัตว์เลี้ยงไปถึงผู้ดูแล ให้อาบน้ำทำความสะอาดด้วยแชมพูอาบน้ำของสัตว์เลี้ยงตามปกติก่อนพาเข้ามาเลี้ยงยังบริเวณ ห้ามใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อมาอาบสัตว์เลี้ยง

– ให้สมาชิกในบ้านที่ไม่ติดเชื้อดูแลแทน แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำ และให้อาหาร

– งดให้สัตว์เลี้ยงใกล้ชิด และนอนร่วมห้อง

– หากมีครอบครัว หรือคนรู้จักที่พร้อมดูแลสามารถให้รับเลี้ยงแทนได้ แต่งดเข้าใกล้และนอนร่วมห้อง ซึ่งเมื่อสัตว์เลี้ยงมาถึงต้องอาบน้ำด้วยแชมพูก่อน 

อาการติดเชื้อโควิดในสัตว์เลี้ยง เราสามารถแบ่งเป็น 2 เคส คือ

– เคสที่โควิดจากคนติดสัตว์เลี้ยง : การติดเชื้อในเคสนี้มักไม่ค่อยมีอาการ หรือมีอาการในระบบทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย, มีไข้, อาการไอจาม, น้ำมูกน้ำตาไหล, อาเจียน, ท้องเสีย, เฉื่อยชา และมีรอยโรคจำกัดอยู่แค่ส่วนต้นของระบบทางเดินหายใจ คือ จมูกกับหลอดลม และไม่พบร่องรอยโรคในปอด เนื่องจากมีปริมาณเชื้อที่ต่ำ เพราะเชื้อโควิดมีความเข้ากับ Host ที่เป็นมนุษย์มากกว่าในสัตว์ (อ้างอิงข้อมูลจาก CDC)

– เคสที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส (nCoV-2019) ที่เป็นไวรัสในสุนัขและแมวโดยเฉพาะ :

อย่าพึ่งกังวลไป เพราะในกรณีนี้เป็นเชื้อโคโรนาที่มีมาอยู่นานแล้วมีความจำเพาะเจาะจง ไม่สามารถติดเชื้อข้ามสายพันธุ์มาได้ โดยโคโรนาที่ติดเชื้อในสุนัขจะชื่อว่า Canine coronavirus ส่วนในแมวจะชื่อ Feline coronavirus ซึ่งจะมีอาการแตกต่างกันออกไป ดังนี้

อาการติดเชื้อโคโรนาของหมา : เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ มีอาการหายใจติดขัด และอาจท้องเสีย, อาเจียน, เบื่ออาหาร, เซื่องซึม ฯลฯ

อาการติดเชื้อโคโรนาของแมว : ในการติดเชื้อของน้องแมวจะมีอาการรุนแรงกว่าน้องหมา คือได้รับผลกระทบทางเดินหายใจ และระบบย่อยอาหารเช่นเดียวกัน เริ่มแรกมีอาการป่วยคล้ายไข้ทั่วไป น้ำมูกไหล จามบ่อย ตาแฉะ ท้องเสีย คลื่นไส้ น้ำหนักลดร่วมด้วย ซึ่งในแมวบางตัวอาจเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ (FIP) อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถติดเชื้อไปสู่แมวตัวอื่นได้จากการสัมผัสอุจจาระติดเชื้อ และการเลียขน

ถ้าสัตว์เลี้ยงติดโควิดสามารถรักษาได้มั้ย แล้วควรดูแลอย่างไร?

สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อนั้นมักมีอาการอยู่ประมาณ 3-7 วัน และสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษาในสองสัปดาห์ (อ้างอิงจากสพ.ญ.กมลพรรณ เจริญกุล สัตวแพทย์แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน) 

แต่! สัตว์เลี้ยงที่มีโรคประจำตัว หรืออายุมากนั้นการติดเชื้อโควิดอาจทำให้เกิดอาการทรุดลงได้ หากมีอาการที่ผิดปกติควรรีบพาน้อง ๆ ไปพบสัตวแพทย์โดยทันที หรือติดต่อนัดหมายสอบถามกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์  โทร. 0-2218-9576

ส่วนวิธีการดูแลรักษา สัตว์เลี้ยงติดโควิด ก็ทำได้ไม่ยาก แค่เว้นระยะห่างแล้วดูแลตามปกติ เลี้ยงแบบแยกบริเวณ และมีการทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยประพฤติตามข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 แต่ถ้าไม่สามารถดูแลได้ก็ควรให้ผู้อื่นดูแลแทนไปก่อน

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วใครที่อยากให้น้องๆ สัตว์เลี้ยงของเราปลอดภัยไร้กังวลจากโควิด-19 สามารถโทรศัพท์รับบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อจาก We Clean VR ที่พร้อมให้ปรึกษา และทำความสะอาดบ้าน คอนโด สถานที่พักอาศัย และสำนักงาน ฯลฯ ด้วยนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ คือ น้ำยาอิเล็กโทรไลต์ SteriPlant คุณภาพระดับ Food Grade ปลอดภัยต่อร่างกายทั้งเจ้าของและสัตว์เลี้ยง แถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยนะ!

หากอยากอ่านบทความดี ๆ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดแบบนี้อีก ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link

ติดต่อสอบถาม

📱FB : m.me/wecleanvr

📟 Line@ : @wecleanvr (มี @ข้างหน้าด้วย)

เอกสารอ้างอิง: Bangkokbiznews. Kapook. Springnews. Thonglorpet

บริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ