ผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนโควิด ได้หรือไม่? : เรื่องการฉีดวัคซีนเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันโควิดที่หลายหน่วยงานได้ออกมารณรงค์ให้ทุกคนเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด แต่! ถ้าเราสภาพร่างกายไม่พร้อมเท่าคนปกติล่ะ ซึ่งนอกจากโรคโควิดแล้ว ในไทยนั้นมีโรคหนึ่งที่คนไทยป่วยเป็นอันดับหนึ่งอย่าง “ โรคมะเร็ง ” โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีภูมิคุ้มกันน้อย และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากกว่าคนปกติ ฟังแบบนี้แล้วหลายคนคงเริ่มตั้งคำถามว่า แล้วอย่างงี้ผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่ ถ้าจะฉีดควรฉีดตอนไหน และต้องเตรียมตัวก่อน-หลังฉีดวัคซีนอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วก็ไปศึกษาพร้อมเราได้เลย!
ผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนโควิด ได้หรือไม่ แล้วควรฉีดตอนไหน?
จากคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศ.ดร.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร อาจารย์แพทย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทยได้ออกมาให้ความรู้ว่า “ผู้ป่วยมะเร็งทุกประเภทสามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ทุกตัว” เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งนั้นจะมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่าคนทั่วไปโดยเฉพาะช่วงที่รักษาเคมีบำบัด ทำให้แพทย์แนะนำว่า ถ้ามีโอกาสได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดก็ให้รีบฉีดเลย เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งมีภูมิต้านทานต่ำกว่าคนปกติ, อาจมีโอกาสเกิดอาการโควิดรุนแรง และเชื้อโควิดอยู่ในร่างกายนานกว่าคนปกติอีกด้วย ระยะเวลาการฉีดวัคซีนนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับกลุ่มอาการ และตามดุลยพินิจของแพทย์ที่รักษานั่นเอง ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งนั้นมีหลากหลายประเภท ทำให้ระยะเวลาการได้รับวัคซีน สามารถแบ่งได้ดังนี้
ผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เลย
– ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว
– ผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อน เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านม
– ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรับการรักษาโดยยาต้านฮอร์โมน, ยาภูมิคุ้มกันบำบัด หรือได้รับการฉายรังสีสามารถเข้ารับวัคซีนได้เลย โดยไม่ต้องหยุดยา
ผู้ป่วยมะเร็งที่ควรได้รับการปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน
– ผู้ป่วยมะเร็งระบบเลือด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือมะเร็งที่ได้รับการรักษาจากการปลูกถ่ายไขกระดูก เซลล์บำบัด หรือรักษาด้วยยา Rituxumod
– ผู้ป่วยที่กำลังได้รับยาเคมีบำบัด
– ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังจะได้รับการผ่าตัด ควรได้รับการฉีดวัคซีนก่อน หรือหลังผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์
วัคซีนโควิดประเภทไหนที่ผู้ป่วยมะเร็งฉีดได้
วัคซีนโควิดในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายประเภททั้ง Sinnovac, Sinopharm, AstraZeneca ฯลฯ แต่ในตอนนี้วัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ที่แนะนำ คือวัคซีนชนิด mRNA ได้แก่ Moderna และ Pfizer ส่วนวัคซีนที่ห้ามฉีดในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำจากเคมีบำบัด คือ Live Vaccine เป็นวัคซีนที่ยังไม่มีในไทย
ซึ่งการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งนั้นอาจมีผลข้างเคียงในแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เพราะงั้นเราควรเตรียมสภาพร่างกายให้เรียบร้อย และรู้วิธีเตรียมตัวร่างกายของผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนในช่วงก่อน และหลังฉีดวัคซีนจะมีอะไรบ้างนั้นก็ไปดูด้วยกันได้เลย!
วิธีการเตรียมตัวก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิดของผู้ป่วยมะเร็ง
รู้รึเปล่า? ว่าการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนนั้นช่วยลด หรือป้องกันอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าใครอยากรู้ว่ามีแนวทางในการเตรียมตัวก่อนและหลังฉีดวัคซีนของผู้ป่วยมะเร็ง แบ่งได้ดังนี้
วิธีเตรียมตัวก่อน ผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนโควิด
– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อร่างกาย ประมาณ 6 – 7 ชั่วโมง
– ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 500 – 1,000 มิลลิลิตร
– ผ่อนคลาย ทำให้จิตใจผ่องใส ไม่เครียด
– หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา, กาแฟ
– ไม่ควรกินอาหารเสริม หรือยาที่ไม่ใช่ยารักษาประจำตัว เพื่อเลี่ยงการเกิดผลกระทบข้างเคียง
– งดออกกำลังกายหนัก 2 วันในช่วงก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด
– หากมีอาการไข้ หรือไม่สบายให้เลื่อนนัดฉีดวัคซีนไปก่อน
วิธีเตรียมตัวหลัง ผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนโควิด
– เฝ้าสังเกตอาการของตัวเองหลังได้รับวัคซีนประมาณ 30 นาที
– สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ และเว้นระยะห่างทางสังคม 1 – 2 เมตร (Social Distancing)
– หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้ขึ้นสูง, เป็นลม, ผื่นลมพิษ, เจ็บแน่นหน้าอก, แขนขาอ่อนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
– กรณีมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวทันที
การเลือกสถานที่ฉีดวัคซีนของผู้ป่วยมะเร็ง
อย่างที่เราได้บอกไปว่า ‘ผู้ป่วยมะเร็งนั้นมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่าปกติ และเสี่ยงติดเชื้อโควิดได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ’ ทำให้การเลือกสถานที่รับวัคซีนนั้นมีผล เนื่องจากแต่ละจุดบริการฉีดวัคซีนนั้นมีมาตรการในการควบคุมโควิด, ความสะอาด, ความปลอดภัยและความสะดวกที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราควรเลือกสถานที่ที่มีความพร้อมในการฉีดวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของเครื่องมือ, บุคลากรทางการแพทย์, ความสะอาดและความปลอดภัย เพื่อจะรักษาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
แนวทางการปฏิบัติตัวของผู้ดูแล หรือผู้ใกล้ชิด ผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนโควิด
ถึงแม้เราจะพาผู้ป่วยมะเร็งไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วก็ตาม แต่ใช่ว่าการฉีดวัคซีนนั้นจะช่วยป้องกันโควิดได้ 100% เพราะการฉีดโควิดนั้นช่วยลดความรุนแรงของอาการ และอัตราการเสียชีวิตอยู่เท่านั้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งก็ยังมีโอกาสติดเชื้อโควิดได้เหมือนเดิม อีกทั้งการติดเชื้อโควิดนั้นส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อจากคนใกล้ตัว เช่น ครอบครัว, ญาติ, คนใกล้ชิด ดังนั้นเราจึงควรรู้แนวทางปฏิบัติเพื่อลดโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโควิดของผู้ป่วยมะเร็ง โดยแบ่งวิธีการออกดังนี้
1. ผู้ดูแล หรือผู้ใกล้ชิดเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด
กันไว้ดีกว่าแก้! สำนวนนี้คงเอามาใช้ได้เสมอ เพราะการฉีดวัคซีนนั้นจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสามารถต่อต้านเชื้อโควิด พร้อมทั้งลดอาการรุนแรงได้ ในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอหลังจากการรับวัคซีน อย่าให้ผู้ใกล้ชิดเข้ารับการฉีดวัคซีนเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อ หรือยกของหนักโดยอาจจะช่วยเหลือในการยกสิ่งของ หรือหยิบจับเนื่องจากจะทำให้แขนข้างที่ได้รับวัคซีนเกิดอาการล้าได้ ในกรณีการปวดเมื่อยให้ช่วยเหลือโดยการประคบน้ำแข็งเพื่อให้รู้สึกสบายตัวขึ้น ถ้ามีไข้ หรืออาการหนักมากจนทนไม่ไหว สามารถให้ทานพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ดได้ และหากยังไม่หายดีสามารถให้ยาซ้ำได้ โดยควรเว้นระยะเวลาห่างประมาณ 6 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ถ้าหากอาการแย่ลงหรือไม่ดีขึ้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
2. สังเกตอาการของตัวเอง
การสังเกตอาการของตนเองเป็นหนึ่งในวิธีเบสิกที่ใช้เฝ้าระวังว่าเราจะติดโควิดรึเปล่าเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเมื่อร่างกายติดโควิดนั้นบางคนอาจมีอาการที่แสดงออก ไม่ว่าจะเป็น มีไข้, ไอจามแห้ง ๆ, หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ หรืออาจไม่ได้กลิ่น หรือรสชาติ ฯลฯ ซึ่งใครที่มีอาการเข้าข่ายที่เราพูดมาก็คงต้องลองมาวิเคราะห์ดูแล้วว่าเรามีพฤติกรรมเสี่ยงติดโควิดอะไรบ้าง รวมถึงลองตรวจโควิดดูเพื่อเช็คว่าตัวเราเองติดโควิดรึเปล่า
3.การ์ดอย่าตก! ดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด
สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือทำความสะอาดสม่ำเสมอ เลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้าถือเป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อโควิด ซึ่งวิธีเหล่านี้อาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่เราหลงลืมไปจนละเลยกลับมาใช้แบบปกติจนทำให้เรามีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดได้ ดังนั้นเราจึงควร ‘ไม่การ์ดตก’ เพื่อความปลอดภัยของเราและคนรอบตัวนั่นเอง หากจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาโรคประจำตามที่คุณหมอนัด ควรเลือกช่วงเวลาในการไปฉายแสงหรือพบแพทย์ในช่วงที่ผู้คนไม่พลุกพล่าน และหลีกเลี่ยงทางเดินที่ใกล้กับบริเวณที่มีการให้บริการตรวจคัดกรองโควิด หรือ RT-PCR
4. ลด ละ เลี่ยงการออกไปข้างนอก หรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
การออกไปข้างนอกถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะเชื้อโควิดนั้นส่วนใหญ่ติดเชื้อจากคนสู่คนผ่านละอองฝอย หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน แต่การไม่ออกไปข้างนอกเลยก็อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะเราคงต้องออกไปทำธุระ หรือไปผ่อนคลายกันบ้าง ดังนั้นเราควรลดการออกไปข้างนอก หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ เราก็ควรคิดเสมอว่า เมื่อเราออกไปข้างนอกเชื้อโรคนั้นอยู่ทุกที่ ทุกเวลา รอบตัวอยู่เสมอตามหลักการป้องกันเชื้อแบบครอบคลุมทุกโรค หรือ Universal Prevention โดยการเลี่ยงการไปพื้นที่แออัด, เว้นระยะคนอื่นประมาณ 1-2 เมตร (Social Distancing)
เชื้อโควิดนั้นสามารถเป็นกันได้ทุกคนไม่ว่าจะเป็น คนปกติ หรือผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ควรฉีดวัคซีนโควิด เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่าปกติ
ดังนั้นเราจึงควรเสริมสร้างความสะอาด, ความปลอดภัย และความมั่นใจด้วยบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อของ We Clean VR ที่ทำความสะอาดได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด และอาคารสำนักงาน ฯลฯ ด้วยน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ SteriPlant น้ำยาคุณภาพสูง และมีความปลอดภัยระดับ Food Grade เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย และสิ่งแวดล้อม
หากอยากอ่านบทความดี ๆ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดแบบนี้อีก ก็สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link
ติดต่อสอบถาม
Line@ : @wecleanvr (มี @ข้างหน้าด้วย)
Source: Chulalongkornhospital. Sikarin. TNN online. Wattanosoth Cancer Hospital